การเลี้ยงเด็กทารกในสมัยก่อนกับสมัยนี้มีความแตกต่างกันจนเกิดคำถามมากมายหลายข้อว่าควรเลี้ยงแบบไหน
ดี ประเด็นหนึ่งที่ถกเถียงกันไปมาระหว่างญาติผู้ใหญ่ที่ช่วยดูแลหลาน กับผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเลี้ยงเด็กในสมัยปัจจุบันก็คือ ทำไมเราถึงไม่ให้ลูกกินน้ำเปล่าก่อนอายุ 6 เดือน
การกินน้ำเปล่าของเด็กทารก ในมุมมองของคนสมัยก่อน
คุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งคลอดลูกมักจะได้รับคำสอนของญาติผู้ใหญ่อยู่บ่อย ๆ ว่า เวลาให้นมลูกแล้วอย่าลืมให้ลูกกินน้ำตามเสมอ เหตุผลของท่านก็คือ
ได้ยินแล้วก็กังวลใจรีบให้ลูกกินน้ำ แต่แล้วก็ต้องมาพบกับความสับสนอีกหลังจากไปพบหมอเด็ก คุณหมอจะให้คำแนะนำเรื่องการให้เด็กทารกกินน้ำในทางตรงกันข้าม
การกินน้ำเปล่าของเด็กทารกในมุมมองของคนสมัยใหม่
ในยุคนี้ คุณหมอเด็ก ผู้รู้ ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอย่าเพิ่งให้ลูกกินน้ำเปล่าก่อนอายุ 6 เดือน มาดูเหตุผลของฝั่งนี้กันบ้างว่าเพราะอะไรจึงไม่ให้ลูกกินน้ำเปล่าก่อนอายุ 6 เดือน
ไม่ให้ลูกกินน้ำเปล่าก่อนอายุ 6 เดือน เชื่อได้หรือไม่
เหตุผลที่ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวนั้นมีที่มาจากองค์การอนามัยโลกจึงเชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม คำแนะนำนี้อาจจะไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ไม่ให้ลูกกินนมจากเต้า แต่ให้กินนมแม่สลับกับนมผง หรือให้ลูกกินนมผงอย่างเดียว ถ้าคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมผงไม่ว่าจะอายุเท่าใดควรให้ลูกกินน้ำตามหลังมื้อนมทุกมื้อเพื่อป้องกันคราบนมสะสมในช่องปาก ซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อราและเป็นสาเหตุให้ฟันผุ
ส่วนเด็กทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องให้กินน้ำและไม่ต้องการอาหารชนิดอื่นใดเพิ่มเติมอีก เพราะคุณสมบัติของนมแม่มีประโยชน์มากมายต่อทารก นอกจากองค์การอนามัยโลกที่ออกคำแนะนำแล้ว องค์การยูนิเซฟและสมาคมกุมารแพทย์ทั่วโลกก็แนะนำให้คุณแม่หลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
จากความคิดเห็นสองด้านที่แตกต่างกันนี้ คุณแม่มือใหม่ที่ต้องเลี้ยงลูกท่ามกลางญาติพี่น้องที่เข้ามาดูแลใกล้ชิด และบังคับให้ลูกกินน้ำเปล่าทั้ง ๆ ที่ยังอายุไม่ถึง 6 เดือนไม่ต้องกังวลใจไป จริง ๆ แล้วเราสามารถเดินทางสายกลางได้ไม่ต้องเคร่งครัดกับแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งจนเกินไป หากจะให้ลูกกินน้ำตามคำแนะนำของผู้ใหญ่ ให้ลูกดูดน้ำเพียงเล็กน้อยก็พอ ไม่จำเป็นต้องให้กินมากเป็นขวด ๆ สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องสุขอนามัย หากจะให้ลูกน้อยดื่มน้ำก็ควรเป็นน้ำต้มสุก ไม่มีสิ่งเจือปน ลูกจะได้กินน้ำอย่างปลอดภัย