กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทลงโทษกรณียุติการตั้งครรภ์ หรือการทำแท้ง ได้แก่ มาตรา 301 – 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ซึ่งใน
มาตรา 301 และ 305 เพิ่งได้รับการแก้ไขตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 พ.ศ. 2564 เนื่องจากถูกมองว่าเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง ด้วยเป็นการเอาผิดเฉพาะกับผู้หญิงทั้งที่การตั้งครรภ์ไม่สามารถเกิดขึ้นโดยฝ่ายหญิงเพียงฝ่ายเดียว ยิ่งกว่านั้นยังทำให้ผู้หญิงที่ไม่พร้อมจะตั้งครรภ์ต้องยุติการตั้งครรภ์โดยการทำแท้งเถื่อนซึ่งมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิต
สาระสำคัญของมาตรา 301 – 305 มีดังนี้
มาตรา 301 กำหนดบทลงโทษของผู้หญิงที่ตั้งใจทำให้ตัวเองแท้งลูก หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำให้โดยที่มีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์แล้ว มีโทษตามกฎหมายดังนี้
มาตรา 302 กำหนดบทลงโทษของผู้ที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์แท้งลูกแม้หญิงตั้งครรภ์จะให้ความยินยอมดังนี้
มาตรา 303 กำหนดโทษของการทำให้หญิงตั้งครรภ์แท้งลูกโดยที่หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้ยินยอมดังนี้
มาตรา 304 ระบุไว้ว่าการพยายามกระทำผิดตามมาตรา 301 และ 302 ไม่ต้องรับโทษ
มาตรา 305 ระบุไว้ว่าหากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้กระทำผิดตามมาตรา 301 และ 302 โดยได้กระทำไปตามหลักของแพทยสภาในกรณีต่อไปนี้ถือว่าไม่มีความผิด
การยุติการตั้งครรภ์ตามเงื่อนไขข้อ 1 – 3 ไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุครรภ์
มาตรา 305 มีบทบัญญัติที่ได้รับการแก้ไขเพื่อให้มีความชัดเจน และสะดวกต่อการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมดังนี้
การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งนอกจากช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่มีความพร้อมสามารถเข้ารับบริการทำแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมายแล้ว ยังช่วยลดปัญหาสังคมจากการให้กำเนิดบุตรโดยที่แม่ไม่มีความพร้อมด้วย อย่างไรก็ตามการให้ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดเป็นวิธีป้องกันการเกิดปัญหาที่ดีที่สุด