รู้จักกับ “ ความเครียด ”
ความเครียดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่เหตุปัจจัยและความสามารถ
ในการรับมือกับแรงกดดันนั้น ๆ เช่น ความเครียดที่มาจากการป่วยไข้ไม่สบาย เครียดอันเนื่องจากไม่สมหวังในสิ่งที่ต้องการหรือไม่ประสบความสำเร็จในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รวมทั้งอารมณ์โกรธ ความวิตกกังวล และความรู้สึกไม่มั่นใจในอนาคตก็ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความเครียดได้ทั้งสิ้น ความเครียดจึงเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัย กล่าวคือ
เป็นความเครียดที่มีสาเหตุมาจากสภาพร่างกายและจิตใจ เช่น มีโรคประจำตัว ปัญหาสุขภาพร่างกาย โรคทางจิตเวช ได้รับเรื่องกระทบกระเทือนใจเป็นเวลานาน หรือเป็นคนที่วิตกกังวลง่าย
เป็นความเครียดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น ปัญหาและความกดดันจากที่ทำงาน ปัญหาจากความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้คนรอบข้าง เศรษฐกิจในครัวเรือน หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่างกะทันหัน เป็นต้น
ความเครียด มี 2 ประเภท ได้แก่
1.ความเครียดแบบเฉียบพลัน
เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์กดดันแบบทันทีทันใด เช่น ตกอยู่ในภาวะคับขันและเสี่ยงต่ออันตราย เจอกับเหตุการณ์สะเทือนใจ หรืออยู่ในช่วงจังหวะที่ยากต่อการตัดสินใจ โดยความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นถือเป็นปฏิกิริยาการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายและจิตใจมนุษย์ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายหรือผ่านพ้นไปแล้วความเครียดนั้นก็จะลด ลงเช่นกัน
2.ความเครียดแบบเรื้อรัง
เป็นความเครียดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หรือเป็นความเครียดสะสมเพราะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น อาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัว ปัญหาจากการทำ งาน ปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือน หรือความล้มเหลวซ้ำ ๆ เป็นต้น
ความเครียดแบบเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นในชั่วขณะหนึ่งแล้วหายไป ซึ่งต่างจากความเครียดแบบเรื้อรังหรือความเครียดสะสมที่ส่งผลกระทบรอบด้านทั้งสุขภาพ จิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรม เช่น ใบหน้าเศร้าหมอง หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่หรือลำบากขึ้น ปวดหัว นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ นิ่งเงียบไม่ค่อยพูดคุย ความต้องการทางเพศลดลง มักเกิดความวิตกกังวล และเบื่อหน่ายชีวิตจนอาจนำไปสู่การคิดสั้นหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ นอกจากภาวะความ เครียดแล้วยังมีโรคเครียดที่เราควรทำความรู้จักด้วย
รู้จักกับ “ โรคเครียด ”
โรคเครียด หรือ Acute Stress Disorder คือ สภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากเหตุการณ์ร้าย แรงซึ่งส่งผลต่อการตอบสนองของร่างกายและจิตใจ โดยเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ร่างกายจะหลั่งสารสื่อประสาทเพื่อกระตุ้นให้เลือกที่จะสู้หรือถอย ( Fight-or-Flight ) จึงทำให้ หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว และความดันโลหิตสูงขึ้น โดยเมื่อเหตุการณ์ผ่านพ้นไปแล้วผู้ที่ป่วยด้วยโรคเครียดก็ยังคงเกิดความตื่นตระหนก วิตกกังวล กลัว หวาดระแวง ฟุ้งซ่าน หรือฝันร้ายซ้ำ ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เกิดขึ้นจากการที่ต้องพบเจอหรือรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์รุนแรงซึ่งก่อให้เกิดความสะเทือนใจ ตื่นตระหนก หรือหวาดกลัว เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือประสบอุบัติเหตุรุนแรง บุคคลอันเป็นที่รักเสียชีวิตกะทันหัน การออกรบของทหาร ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกจี้ปล้น หรือประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น
ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคทันทีเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจปรากฏอาการหลายวันหรือหลายสัปดาห์ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการดังนี้
– ฝันร้ายหรือเห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงซ้ำ ๆ
– อารมณ์ขุ่นมัว ไม่ร่าเริงสดใส ไม่มีความสุข และรู้สึกว่าเวลาเดินช้าลง
– หลงลืม มึนงง ไม่รับรู้การมีอยู่ของตนเอง และมีพฤติกรรมแยกตัว
– พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะนำไปสู่การนึกถึงเหตุการณ์รุนแรงครั้งนั้น เช่น สถานที่ ผู้คน สิ่งของ
– โมโหหรือก้าวร้าวได้ง่ายเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งกระตุ้น
– นอนหลับยาก ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีหลายวิธีที่จะช่วยบรรเทาหรือรับมือกับความเครียด เช่น พูดคุยระบายความเครียดกับครอบ ครัวหรือเพื่อนที่ไว้ใจ ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่สนใจเพิ่มเติม อาทิ ท่องเที่ยว ปลูกต้นไม้ ทำงานฝีมือ ทำขนม เป็นต้น หากเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าความเครียดสะสมหรือโรคเครียดที่เป็นอยู่นั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันจนทำให้ไม่มีความสุข ควรเข้ารับการรักษาหรือปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทันที