ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ มีวิธีการรักษาหรือไม่

ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ มีวิธีการรักษาหรือไม่

ไข้ทรพิษ หรือฝีดาษ เป็นโรคที่เกิดในสมัยโบราณ ปัจจุบันไม่มีโรคนี้เกิดขึ้นแล้ว แต่มีโรคใหม่ที่ใกล้เคียงกันกับไข้ทรพิษ นั่นคือ โรคฝีดาษลิง เกิดจาก

เชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน อาการก็แทบจะเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ฝีดาษโบราณแพร่ระบาดจากคนสู่คน แต่โรคฝีดาษยุคใหม่หรือฝีดาษลิงนั้นสามารถแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนได้ด้วย สัตว์ที่เป็นตัวแพร่เชื้อครั้งแรกก็คือสัตว์ตระกูลลิง จึงได้ถูกเรียกว่าโรคฝีดาษลิง 

โรคฝีดาษในอดีตเป็นมาอย่างไร

ฝีดาษหรือไข้ทรพิษเกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา เชื่อกันว่ามีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ และการระบาดเกิดขึ้นทั่วโลกเป็นระลอก ๆ ในการระบาดแต่ละครั้งมีผู้เสียชีวิตไม่น้อย เพราะเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรง ในประเทศไทยมีการระบาดของไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษอยู่หลายครั้งตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา การระบาดครั้งสุดท้ายในไทยมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงต้องทำการล้างเมืองให้ปราศจากโรคฝีดาษโดยการให้ประชาชนได้ฉีดวัคซีนป้องกัน ซึ่งก็ได้ผลดีเช่นเดียวกับในต่างประเทศ สามารถปราบฝีดาษให้หมดสิ้นไปหลายสิบปีแล้ว 

สำหรับฝีดาษลิงที่พวกเราได้รู้จักชื่อเสียงเรียงนามเมื่อไม่นานมานี้ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเดียวกันกับไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าและระบาดน้อยกว่า ฝีดาษลิงเป็นโรคใหม่ที่มักจะพบในเด็กเล็ก สามารถติดโรคได้จากการได้รับฝอยละอองที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่และผ่านเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ทางเยื่อบุตาหรือทางผิวหนัง และยังอาจติดได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งที่ออกจากตุ่มใสของผู้ที่เป็นโรคหรือสัตว์เลี้ยงที่เป็นสัตว์พันธุ์กัดแทะ เพราะสัตว์ประเภทนี้อาจมีเชื้อติดตัวมาและเป็นพาหะของโรค

อาการของไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษ

ผู้ที่ได้รับเชื้อมาประมาณ 10 – 14 วัน จะเริ่มมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ ลักษณะอาการ คือ

  • ไข้ขึ้นสูงแบบเฉียบพลัน อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
  • อ่อนเพลียและปวดหัว อาจมีอาการปวดหลังร่วมด้วย 
  • คลื่นไส้ อาเจียน หลังจากนั้นอีกประมาณ 2 – 4 วัน จะมีตุ่มคล้ายฝีหรือผื่นขึ้นบนใบหน้า
  • ผื่นจะเริ่มกระจายไปยังผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ลักษณะของตุ่มเล็ก ๆ ที่ขึ้นมาจะฝังลึกในผิวหนังและเริ่มนูนแข็งขึ้น มีน้ำใสหรือมีหนองด้านใน
  • จากนั้นไม่นานตุ่มหนองจะแตกออกแล้วตกสะเก็ดจนลอกหายไป
  • อาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้หากร่างกายอ่อนแอ

ไข้ทรพิษหรือฝีดาษไม่มียารักษา แต่วิธีต่อไปนี้สามารถช่วยผู้ป่วยได้

โรคฝีดาษในอดีตไม่มียารักษา ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลด้วยวิธีต่อไปนี้

  • รักษาตามอาการ เช่น ให้ทานยาลดไข้ แก้ปวด ยาทาผื่น
  • แยกผู้ป่วยเป็นฝีดาษให้ไปนอนโรงพยาบาลโรคติดต่อ
  • หมั่นทำความสะอาดที่นอนผู้ป่วยบ่อยครั้ง
  • ดูแลไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำและรักษาระดับเกลือแร่ให้เป็นปกติ
  • ระมัดระวังบริเวณปากและตาเป็นพิเศษ
  • ไม่ให้ผื่นผิวหนังถูกน้ำและสารเคมี 

ปัจจุบันมียาที่ชื่อว่า Tecovirimat (TPOXX) สามารถนำมาใช้รักษาโรคฝีดาษได้แล้ว อย่างไรก็ตาม วิธีป้องกันที่ปลอดภัยที่สุดก็คือ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ที่มีอาการของโรคฝีดาษและคอยติดตามสถานการณ์โรคระบาดตลอดเวลา เพราะปัจจุบันฝีดาษได้กลับมาอีกครั้งในนามของฝีดาษลิง ดังนั้นเราควรเฝ้าระวังอยู่ให้ห่างจากโรคดีที่สุด