ทำไมคนถึง ‘ผมร่วง’

ทำไมคนเราผมถึงร่วง

อาการผมร่วงเกิดจากสาเหตุใด ผมร่วงแบบไหนถึงเป็นปัญหา เมื่ออายุมากขึ้นความหนาแน่นของเส้นผมลดลง ผมร่วงถี่ขึ้นและผมบาง

แต่ถ้าผมบางลงตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและวัยทำงานอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาผมบาง อาจต้องได้รับการรักษาภาวะผมร่วงก่อนจะศีรษะล้าน อาการหลุดร่วงของเส้นผมในแต่ละวันมีประมาณ 50-100 เส้นถือว่าเป็นปกติตามวงจรชีวิตของเส้นผม เส้นผมคนดกหนาที่สุดในช่วงวัยประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นวงจรชีวิตของเส้นผมเริ่มสั้นลง เส้นผมร่วงถี่และน้อยลงเรื่อย ๆ อาการผมร่วงมากเกินไปในกรณีที่มีอายุน้อยสังเกตได้จากก้อนผมจำนวนมากในท่อระบายหลังจากสระผม มีเส้นผมทั่วไปทั้งบนหมอน ในแปรงหวีผม สังเกตเห็นลักษณะของผมบางเป็นหย่อม ๆ กลางกระหม่อมหรือแนวผมด้านหน้าเถิกลึกเข้าไปบริเวณเหนือหน้าผากและสองข้างขมับ ทำให้ขาดความมั่นใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุเพื่อแก้ปัญหารักษาโดยเร็ว

สาเหตุที่ผมร่วงเกิดจากอะไร 

พันธุกรรม เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด สืบประวัติครอบครัวมีคนศีรษะล้าน  

พฤติกรรม ภาวะผมบางเกิดจาก ความเครียด ตกใจรุนแรง เศร้าหมองเฉียบพลัน ลดน้ำหนักเร็วเกินไป รวมไปถึงการม้วนผมและหนีบผมเป็นประจำ มัดผมและถักผมเปียแน่นเกินไป สระผมก่อนเข้านอนแต่ผมไม่แห้งสนิททำให้เกิดเชื้อราและรังแคบนหนังศีรษะ หวีผมแรงขณะผมเปียก

-สิ่งแวดล้อม ผมร่วงจากสารเคมีและมลภาวะ สารพิษปนเปื้อนในอาหารและน้ำ 

ภาวะเจ็บป่วย การผ่าตัด มีไข้สูง ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะผมร่วงชั่วคราว แต่ผมงอกใหม่ได้โดยไม่ต้องรักษา  

-การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ผมร่วงชั่วคราว ได้แก่ การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร การเลิกใช้ยาคุมกำเนิด วัยหมดประจำเดือน และมีความสัมพันธ์กับกับฮอร์โมนเพศชาย แอนโดรเจน ซึ่งส่งผลต่อวงจรชีวิตและการเติบโตของเส้นผม 

-โรคบางชนิด เป็นสาเหตุของผมร่วง เช่น โรคต่อมไทรอยด์ โรคไตวาย โรคติดเชื้อที่หนังศีรษะทำให้เกิดแผลเป็นและผมร่วงถาวร สาเหตุจากการฉายรังสี การแพ้ยา รวมถึงผลกระทบจากยารักษาโรค เช่น  ความดันโลหิตสูง โรคข้ออักเสบ ภาวะซึมเศร้า และโรคมะเร็ง การขาดสารอาหาร เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก และภาวะโลหิตจาง

การรักษาผมร่วงต้องพิจารณาจาก 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้

1.ผมร่วงที่เซลล์รากผมถูกทำลาย มีอาการผมร่วงอย่างถาวร สาเหตุเกิดจากโรคผิวหนังและเชื้อราบนหนังศีรษะกลายเป็นแผลเป็นที่รักษาไม่ได้ อาจต้องทำศัลยกรรมปลูกผม

2.ผมร่วงที่เซลล์รากผมยังไม่ถูกทำลาย มีอาการผมร่วงเป็นหย่อมบนศีรษะ สาเหตุเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์รากผมแต่ยังไม่ถูกทำลายอย่างถาวร สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานอาจรักษาไม่หายเช่นกัน

ผมร่วงมากผิดปกติมีวิธีแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร 

-ผมร่วงจากการทำร้ายเส้นผมเป็นประจำ การดัด จัดทรง ทำสี ทำให้ผมเปราะบางแตกหักง่าย เส้นผมลีบบาง ผมแห้ง ไร้น้ำหนัก ผมหลุดร่วงงานและงอกใหม่ช้า ต้องแก้ไขที่พฤติกรรมเพื่อไม่ให้อาการผมร่วงเป็นมากขึ้น

-ผมร่วงจากความเครียด นอนน้อย นอนดึก เป็นสาเหตุผมร่วงผมบางในระยะยาว ควรแก้ไขด้วยการทำใจให้สงบผ่อนคลาย ออกกำลังกาย หางานอดิเรกทำ กินอาหารมีประโยชน์ครบถ้วน กินวิตามินบีพร้อมกับปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเส้นผมและหนังศีรษะ พูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้และจิตแพทย์เพื่อบรรเทาความเครียด

-ผมร่วงเกิดจากผลข้างเคียงของยารักษาโรคซึ่งเร่งวงจรของเส้นผมทำให้ผมร่วงทันทีหลังได้รับยาเข้าไป ไม่เกี่ยวกับปริมาณยาหรือระยะเวลาที่กิน รวมถึงทำให้วงจรการเติบโตของเส้นผมช้าลง ปัญหานี้จะหายไปเองเมื่อหยุดยา

-ผมร่วงจากการขาดสารอาหารหรือกินอาหารไม่มีประโยชน์ ทำให้เส้นผมเปราะ หัก และหลุดร่วงง่าย โดยเฉพาะเส้นผมที่ขาดการดูแล ควรปรับพฤติกรรมการบริโภค รับประทานอาหารดี ๆ บำรุงเส้นผมพร้อมแก้ไขภาวะผมร่วง เช่น  เนื้อสัตว์ ไข่แดง ตับ ผักต่าง ๆ ธัญพืช ถั่ว เสริมธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามินบี

วิธีการรักษา มีดังนี้

-การใช้ยาหรือแชมพูกำจัดเชื้อรา

-การฝึกฝนควบคุมความเครียด

-การเปลี่ยนพฤติกรรมทำร้ายเส้นผมและหนังศีรษะ

-การฉีดสเตียรอยด์

-การผ่าตัดปลูกผม

ปัญหาผมร่วงในคนอายุน้อยเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย สังเกตได้จากเส้นผมหลุดร่วงเกิน 100 เส้นต่อวันติดต่อกันนาน ๆ แสดงอาการของภาวะผมร่วงผิดปกติ เมื่อไปพบแพทย์เพื่อปรึกษา เริ่มต้นจากการพูดคุยเพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาให้เส้นผมและหนังศีรษะกลับมามีสุขภาพดี