จิตบำบัดคืออะไร

จิตบำบัดคืออะไร

ด้วยหน้าที่การงานที่ต้องดิ้นรนกับภาวะเศรษฐกิจที่รุมเร้า สถานการณ์โรคระบาด สถานการณ์โลกที่เลวร้าย ส่งผลกระทบต่อความคิด จิตใจ และความมั่นคงทางอารมณ์ของคนได้ทั้งสิ้น

เมื่อโลกอยู่ไม่ง่ายคนที่ไม่เข้มแข็งพอก็ต้องพ่ายไป คนที่พ่ายกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มคนที่จิตผิดปกติ ซึ่งหากสะสมถึงระดับร้ายแรงจะสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับคนรอบข้างด้วย  จึงต้องเกิดกระบวนการเยียวยารักษาที่เรียกว่า จิตบำบัด ขึ้น  กระบวนการนี้คืออะไร เราไปทำความรู้จักกัน 

 จิตบำบัด  คือ ศาสตร์แห่งการรักษา เยียวยา พร้อมให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจ ด้วยวิธีการพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูล ปรึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักจิตอายุรเวท (นักจิตบำบัด) หรือนักจิตวิทยาบำบัด กับผู้ป่วย เพื่อร่วมกันหาสาเหตุของความแปรปรวนผิดปกติด้านจิตใจและอารมณ์ทำได้ทั้งรายบุคคล และเป็นกลุ่ม ซึ่งแพทย์อาจจะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือใช้หลายวิธีการในการรักษา มีการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยเป็นความลับ การใช้ระยะเวลาในการรักษาแตกต่างกันไปแล้วแต่กรณีของผู้ป่วย ซึ่งไม่ว่าจะใช้วิธีการใดสิ่งที่แพทย์ผู้รักษาต้องทำให้สำเร็จคือ สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้ได้ หากผู้ป่วยและคนที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีก็สามารถบรรลุเป้าหมายการรักษาได้ไม่ยาก และมีโอกาสรักษาให้คืนกลับมาสู่จิตใจ และอารมณ์ที่มีสภาพปกติดังเดิมได้ 

จิตบำบัด มี 2 วิธี คือ 

  1. จิตบำบัดระดับต้น  มีการบำบัด 3 ลักษณะ  คือ แบบประคับประคอง เป็นการพูดคุยให้การช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อให้เข้าถึงสาเหตุของปัญหาและเป็นเพื่อนที่ไว้ใจให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย, แบบระบายปัญหา เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายเรื่องที่คับข้องใจ เก็บกดไม่สามารถพูดคุยกับใครได้ออกมาดัง ๆ ปลดปล่อยได้เต็มที่ แพทย์จะมีโอกาสเข้าถึงที่มาของปัญหาผ่านวิธีการนี้ และลักษณะที่สาม เป็นการบำบัดแบบเน้นการกดเก็บ ใช้เทคนิคการให้คำแนะนำ ชี้ทางออก ชี้ให้เห็นทางออก หรือมุมมองใหม่ ๆ ใส่ความคิดบวกเข้าไป วิธีการนี้สามารถให้ได้กับปัญหาทั่วไปไม่มีความซับซ้อนมากนัก 
  2. จิตบำบัดระดับลึก เป็นการการบำบัดที่ต้องใช้เวลาระยะยาว เนื่องจากต้องมีการสืบค้นเพื่อให้เข้าถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงซึ่งต้องลงลึกถึงระดับจิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก  

ทั้งนี้ผู้ให้การบำบัดจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีความรักและศรัทธาในอาชีพ มีทักษะในการสื่อสารถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี เป็นผู้ที่มีความใส่ใจคนอื่น มีจิตเมตตา มีความอดทนสูงและสามารถทนอยู่กับภาวะกดดันได้ดี เป็นคนคิดบวก อีกทั้งยังมีวิธีการปลดปล่อยจิตตัวเองไม่ให้หลุดจมไปกับปัญหา หรือเรื่องราวเชิงลบที่ต้องเผชิญหน้ากับผู้ป่วยในทุก ๆ วัน 

ช่วยกันดูแลสังคมให้น่าอยู่ด้วยการเกื้อกูล ใส่ใจดูแลกันและกันให้มาก เราล้วนเกิดมาจากวัฒนธรรมครอบครัวที่หลากหลายที่หล่อหลอมภูมิคุ้มกันทางใจมาไม่เท่ากัน หากเราคือผู้ที่ยังแข็งแรงกว่าก็ควรได้มีโอกาสหยิบยื่นความเมตตา เห็นอกเห็นใจคนที่อาจพลาดพลั้งเพลี่ยงพล้ำ การฝึกตัวเองให้มองโลกในแง่ดี มีจิตเป็นผู้ให้ได้มากเท่าไหร่เราก็จะมีส่วนสำคัญต่อกระบวนการบำบัดจิตได้ด้วยเช่นกัน หากอยู่นอกเหนือความสามารถในการช่วยเหลือดูแลเราสามารถมีส่วนช่วยให้เขาและเธอเหล่านั้นได้เข้าถึงนักจิตอายุรเวทหรือนักจิตบำบัด ได้อีกด้วย หากเราช่วยกันใส่ใจ ผู้ป่วยทางจิตก็จะลดลง