60 กว่าปีที่ผ่านมากฎหมายทำแท้งในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพียง 2 ครั้ง จากแรกเริ่มเดิมทีที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้หญิงที่ตัดสินใจยุติการตั้ง
ครรภ์ของตัวเองหรือทำแท้งไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามถือเป็นความผิดอาญา ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2564 ได้มีการออก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ 28 มาตรา 301 และมาตรา 305 ให้หญิงตั้งครรภ์ทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายสำหรับอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ซึ่งจะต้องอยู่ในกรณีดังนี้
กฎหมายทำแท้งปี พ.ศ. 2564 ที่ไม่ครอบคลุม
หลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นแม้ว่าจะช่วยให้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่มีความผิด แต่ก็สามารถทำได้เฉพาะกรณีที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพของแม่และเด็ก และเรื่องความผิดทางเพศเท่านั้น ขณะที่ยังมีหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการทำแท้งเพราะเหตุจำเป็นอย่างอื่น เช่น ปัญหาทางครอบครัว สภาพเศรษฐกิจ หรือไม่มีศักยภาพพอที่จะเลี้ยงเด็กได้ เมื่อกฎหมายไม่คุ้มครองหญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้จึงหลบเลี่ยงไปใช้บริการจากคลินิกนอกกฎหมายทำให้มีความเสี่ยงเกิดอันตรายอย่างมาก
ล่าสุดกฎหมายทำแท้งของไทยประกาศอีกครั้ง
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 กฎหมายทำแท้งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้ง โดยกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ไว้ว่า
จุดประสงค์ของการออกกฎหมายใหม่นี้เพื่อลดปัญหาการทำแท้งเถื่อน ป้องกันการใช้บริการจากคลินิกที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นสถานพยาบาลอย่างถูกต้อง หญิงตั้งครรภ์ที่มีความจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จะได้มีทางเลือกในการทำแท้งอย่างปลอดภัยจากโรงพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญภายใต้กฎหมายที่รองรับ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บและเสียชีวิต ในขณะเดียวกันบุคลากรทางการแพทย์ก็มีแนวทางที่ชัดเจนในขอบเขตและกระบวนการทางการแพทย์ นอกจากนี้กฎหมายยังได้กำหนดอายุครรภ์ไว้ที่ 12 – 20 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สามารถทำแท้งได้อย่างปลอดภัย จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงอันตรายได้มากกว่า
แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง
หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จะต้องติดต่อขอรับคำปรึกษาจากหน่วยงานบริการเพื่อเข้ารับการตรวจครรภ์และปฏิบัติตามกระบวนการที่ถูกต้อง ซึ่งมีช่องทางการติดต่อหลายทางด้วยกันคือ
แม้ว่าในอีกมุมหนึ่งจะมองว่าการทำแท้งเป็นเรื่องผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง แต่ในความเป็นจริงนั้นย่อมไม่มีผู้หญิงคนใดที่อยากตั้งครรภ์พร้อมกับปัญหา และไม่มีใครอยากเข้าสู่กระบวนการยุติการตั้งครรภ์อย่างแน่นอน ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าต่อไปให้ได้ หญิงตั้งครรภ์ควรมีสิทธิเลือกทำในวิถีทางที่ช่วยให้ตนเองปลอดภัยมากที่สุด ท่ามกลางคำปรึกษาที่ดีและกำลังใจที่ดีจากเพื่อนร่วมสังคมเดียวกัน