แนะวิธีการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัส Covid-19?

จะลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ COVID-19 coronavirus ได้อย่างไร

เข้าสู่ปีที่ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 นับว่าเป็นการแพร่ระบาดที่กินระยะเวลาค่อนข้างนานและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก

ปัจจุบันเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มที่จะมีการกลายพันธุ์ ควบคุมการแพร่ระบาดได้ยากขึ้น แม้จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวลดน้อยลงก็ตามและที่สำคัญยังไม่มียาใดสามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะขนาดคนที่ได้รับวัคซีนถึง 3 เข็ม ก็มิอาจป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคโควิดได้ 

  • อาการของโรค Covid -19

เป็นที่รู้กันดีว่าโรคไวรัสโควิด-19 เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ ดังนั้น อาการโดยรวมจะมีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก เช่น การไอ เจ็บคอ มีไข้สูง การรับรู้รสและกลิ่นหายไป หายใจถี่และเหนื่อย โดยเฉพาะอาการไอจะเริ่มรุนแรงขึ้นตามอาการของโรค อาการของโรคจะปรากฏเมื่อได้รับเชื้อในช่วง 2-14 วัน ซึ่งใครที่มีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นควรเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์และแยกตัวเองออกจากคนในครอบครัว เพื่อป้องการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไว้ก่อน

  • การแพร่ระบาดของโรคทำได้อย่างไร

ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จะเน้นไปที่การสัมผัสกับผู้ป่วยและเชื้อโรคโดยตรง เช่น การสัมผัส การคลุกคลีกับผู้ป่วยในระยะประชิด ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นสามารถติดเชื้อได้ ซึ่งการแพร่กระจายเชื้อโรคสู่คนด้วยกันเองมีดังนี้

  • การหายใจ ผ่านละอองฝอย หากมีการคลุกคลีผู้ป่วยในระยะใกล้ (ภายในระยะ 2 เมตร) แล้วผู้ป่วยมีอาการไอ โดยมิได้มีวัสดุป้องกัน ก็จะทำให้คนที่อยู่ใกล้เคียงหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อโรคนั้นเข้าไปได้
  • การสัมผัส เป็นไปได้มีการสัมผัสวัตถุ สิ่งของ จากผู้ป่วยโดยตรง เมื่อผู้ป่วยมีการไอ จามแล้วใช้มือปิดหรือใช้มือขยี้ตา จากนั้นนำมือที่ไม่ได้ผ่านการล้างทำความสะอาดไปสัมผัสสิ่งของ เช่น ลูกบิดประตู แก้วน้ำ การรับประทานอาหารร่วมกันโดยไม่ได้ใช้ช้อนกลาง ก็จะทำให้คนอื่น ๆ ที่มาใช้งานต่อสัมผัสและติดเชื้อได้ 

วิธีลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส Covid-19

  1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน
  2. หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดหรือมีคนจำนวนมาก 
  3. พยายามเว้นระยะห่างจากคนรอบข้าง อย่างน้อย 1-2 เมตร
  4. หลีกเลี่ยงการใช้รถประจำทางหรือใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
  5. พกแอลกอฮอล์เจลและใช้งานทุกครั้งที่มีการสัมผัสสิ่งของ เช่น ราวบันได, ลูกบิดประตู, รถเข็น เป็นต้น
  6. ล้างมือบ่อย ๆ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร
  7. ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ควรงดการเดินทางหากไม่จำเป็นหรือออกนอกบ้านให้ใช้เวลาน้อยที่สุด 
  8. เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และใช้ช้อนกลางเสมอ 
  9. หากต้องเดินทางออกต่างจังหวัดหรือไปในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด เมื่อกลับถึงบ้านควรกักตัวอย่างน้อย 7 วันและตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ทุกครั้ง
  10. หากพบว่ามีอาการไอ ไข้ขึ้นสูงและเจ็บคอร่วมด้วย ควรแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการตรวจและคัดกรอง หากติดเชื้อจริงจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

สำหรับใครที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ไวที่สุด เพราะอย่างน้อยจะได้ช่วยป้องกันเชื้อลงปอดได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบและคนที่มีโรคประจำตัว ซึ่งจะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อที่รุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้