อาการไม่อยากตื่นเช้าเป็นเพราะอะไร ?

การที่เราไม่อยากตื่นแต่เช้าเป็นเพราะอะไร

อาการไม่อยากตื่นเช้า หรือ โรคเสพติดเตียง (Clinomania หรือ Dysania) หรือเตียงดูด เป็นสัญญาณเตือนของโรคทางจิต จัดเป็นโรคทางจิตเวชที่เข้า

ข่ายกลุ่มโรควิตกกังวล อาการเตียงดูดจะมีอาการไม่อยากลุกจากเตียงตอนเช้า แม้จะได้นอนก็รู้สึกว่านอนไม่เต็มอิ่ม อยากใช้เวลานอนยาว ๆ รู้สึกเหนื่อย เพลีย ไร้เรี่ยวแรง อยากทำกิจกรรมใดๆบนเตียงไม่เว้นแม้แต่การกินอาหาร และต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากที่จะลุกจากเตียง และไม่ว่าจะออกไปไหนก็ถวิลหาอยากจะกลับมานอนบนเตียงอีก ทุกครั้งที่เกิดความเครียดก็จะนึกถึงเตียงเป็นลำดับแรก ทำไมคนเหล่านี้จึงไม่อยากตื่นตอนเช้า  

  1. เกิดความเครียดสะสม  ความเครียดเรื้อรัง เป็นผลมาจากภาวะเครียดสะสมจากการทำงาน การดิ้นรนต่อสู้ในการเลี้ยงชีพ ตลอดจนสภาวะแวดล้อมที่ต้องเผชิญในแต่ละวัน จนกระทั่งส่งผลกระทบทำให้ต่อมหมวกไตล้า และมีอาการไม่อยากตื่นตอนเช้า อยากงีบหลับช่วงกลางวัน ง่วงแต่นอนไม่หลับ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เครียด  ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ฯลฯ 
  2. เป็นโรคซึมเศร้า  มีสภาพจิตใจหดหู่ ไร้จุดหมาย เหนื่อยหน่าย หงุดหงิด เบื่อตัวเอง ไร้เรี่ยวแรง  ขาดความกระตือรือร้น ไม่อยากออกไปเผชิญหน้าผู้คน เป็นอาการของคนเป็นโรคซึมเศร้า ในคนที่มีอาการเตียงดูดตอนเช้าบ่อยๆ มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกันหากปล่อยไว้นานๆ อาจมีพฤติกรรมรุนแรงทำร้ายตัวเองขึ้นได้ด้วยเช่นกัน  
  3. มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน จนทำให้นอนหลับไม่เพียงพอจนเกิดอาการเพลีย งัวเงีย ขาดพลังชีวิต เช่น โรคนอนไม่หลับ การเป็นโรคบางชนิดที่ส่งผลกระทบกับการนอน เช่น โรคเบาหวาน ในคนที่เป็นโรคนี้จะมีภาวะอินซูลินไม่คงที่ทำให้มีอาการง่วงเพลียได้, ภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะหลับ เป็นภาวะที่เกิดการปิดกั้นของทางเดินหายใจขณะหลับ ทำให้อากาศผ่านได้น้อย หรือไม่สามารถผ่านได้เลย ส่งผลให้เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดลดลง มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเยนไม่เต็มที่จึงมีอาการเหมือนคนอดนอน, โรคขากระตุกขณะหลับ ทำให้หลับไม่สนิท นอนไม่อิ่ม,โรคโลหิตจาง ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุเนื่องจาก หรือโรคทางระบบประสาทอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการนอน 
  4. การทำงานของสารโดปามีนในสมองผิดปกติ  โดปามีนมีหน้าที่ควบคุมอารมณ์ และความรู้สึก หากร่างกายหลั่งสารตัวนี้เป็นปกติจะเกิดความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น และตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้เร็ว แต่หากหลั่งได้น้อยจะมีอาการเซื่องซึม เกิดความเบื่อหน่าย ไม่กระฉับกระเฉงนั่นเอง  
  5. ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ การทำงานที่ผิดปกติของต่อมไทรอยด์จะทำให้ รู้สึกเฉื่อยชา ขาดความกระฉับกระเฉง หัวใจเต้นเร็วและแรง เหนื่อยง่าย ทนอากาศร้อนไม่ได้ มือสั่น อารมณ์แปรปรวน

การเป็นโรคเสพติดเตียง กับความขี้เกียจอาจจะแยกยากจากกันสักหน่อย ให้สังเกตอาการตนเอง หรือสมาชิกในบ้านหากใครมีอาการไม่อยากลุกจากเตียงตอนเช้าต่อเนื่องนานๆ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะเกินระดับความขี้เกียจและเข้าข่ายเป็นโรคแล้ว อย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงเพียงแต่ต้องรู้ให้ทันแล้วจัดการแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เร็วเพื่อจะได้ไม่กระทบกับการปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำวัน ลดอันตราย และความผิดพลาดในการทำงานด้วย