อาการปวดข้อเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นผลจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การ
บาดเจ็บ, การอักเสบ, โรคเรื้อรัง, หรือปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับสภาวะทางการแพทย์ อาการปวดข้อที่ไม่รุนแรงอาจจะหายได้เองเมื่อร่างกายหรือบริเวณข้อต่อดังกล่าวได้รับการพักและงดใช้งาน หรืออาจจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาและวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง เพื่อป้องกันภาวะที่รุนแรงขึ้นในอนาคต ซึ่งอาการปวดข้อมีหลายสาเหตุตามลักษณะต่อไปนี้
ลักษณะและอาการปวดข้อที่พบได้บ่อย
- ปวดแบบเจ็บ ๆ ระหว่างการเคลื่อนไหว อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อและมักเป็นอาการที่เกิดขึ้นในข้อที่มีการกดหรือติดขัดกัน
- ปวดแบบแทรกซ้อน อาจเกิดจากการบาดเจ็บหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโครงสร้างภายในข้อ เช่น การกดข้อแผล, การฉีกของข้อ เป็นต้น
- ปวดแบบเสียว อาจเกิดขึ้นจากการอักเสบที่ข้อและมักมีอาการบวม แดง หรือร้อนเพิ่มขึ้นในพื้นที่บริเวณโดยรอบ
- ปวดแบบเฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนและอาจหายไปเองหรือได้รับบาดเจ็บอย่างต่อเนื่อง
- ปวดที่มีลักษณะเฉียบพลัน มีอาการบวม ร้อน หรือแดง ร่วมด้วย อาจเกิดขึ้นจากการอักเสบหรือการติดเชื้อ
โรคข้อที่พบได้บ่อย
- โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคข้อที่พบได้บ่อยมากที่สุดในบรรดาโรคข้อทั้งหมด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเนื้อเยื่อและกระดูกอ่อนบริเวณข้อเริ่มเสื่อมสภาพหรือแตกร้าว ส่งผลให้เริ่มมีอาการปวดที่ข้อบริเวณดังกล่าว ซึ่งจะทำให้รู้สึกติดขัดหรือดูฝืด ๆ เมื่อใช้งานบริเวณข้อ
- สาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคข้อเสื่อม คือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ข้อต่าง ๆ เริ่มเสื่อมสภาพตามวัย ทำให้น้ำในข้อที่หล่อเลี้ยงลดน้อยลง ความยืดหยุ่นและแข็งแรงของข้อและเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบค่อย ๆ เสื่อมถอย จนทำให้กระดูกเริ่มที่จะเสียดสีกันมากขึ้นจนนำมาซึ่งอาการเจ็บปวดของข้อเมื่อมีการเคลื่อนไหว อีกปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคข้ออักเสบได้แก่การเกิดอุบัติเหตุ, การนั่งพับเพียง งอขา งอเข่าเป็นระยะเวลานาน ๆ จนเป็นกิจวัตร เป็นต้น
- โรคข้ออักเสบเรื้อรัง (Rheumatoid Arthritis) หรือที่รู้จักกันในนามของโรคข้อรูมาตอยด์ เป็นโรคภูมิคุ้มกันที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ มีอาการบวมแดงบริเวณข้อและเสื่อมสภาพ สามารถเกิดได้ทั้งบริเวณ ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า อาการปวดเริ่มตั้งแต่รายนาทีไปจนถึง 1-2 ชั่วโมง บางรายหากเป็นมาก ๆ และมีอาการรุนแรงอาจทำให้ปวดตามข้อยาวนานเป็นวันก็มี ซึ่งผู้ป่วยจะทรมานมาก
- สาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรครูมาตอยด์หรือโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เกิดจากภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเองเกิดความผิดปกติและบกพร่อง ทำให้หันมาทำลายและกระตุ้นให้ข้อ เนื้อเยื่อ บริเวณข้อให้เกิดการอักเสบ บางรายอาจถึงขั้นทำลายกระดูก ส่งผลให้กระดูกผิดรูป ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน
- โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคข้อที่เกิดจากร่างกายมีการสะสมกรดยูริคไว้ในข้อ พบได้บ่อยกับคนทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณข้างในข้อและสามารถกำเริบได้ตลอดเวลา หากพบว่าร่างกายมีการสะสมกรดยูริกในปริมาณสูง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เริ่มเป็นแรก ๆ มักจะไม่ค่อยรู้ว่าตนเองเป็น จึงทำให้ไม่ระมัดระวังเรื่องอาหารการกินสักเท่าไรนัก แต่เมื่อรู้สาเหตุและอาหารที่ให้ปริมาณกรดยูริกสูง ก็จะไม่รับประทานและทำให้ไม่เกิดอาการปวด แต่ใช่ว่าอาการดังกล่าวจะไม่เป็นอีก
- สาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคเกาต์ ส่วนใหญ่มาจากอาหารที่ร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้ เนื่องจากพบความผิดปกติของร่างกาย โดยเฉพาะไตที่ไม่สามารถขับกรดยูริกออกในปริมาณมากได้ จึงเกิดการสะสมกรดดังกล่าวบริเวณตามข้อ จนกระทั่งกรดยูริกตกผลึกเหมือนเข็มและคอยทิ่มแทงตามข้ออยู่ตลอดเวลา
- โรคกระดูกพรุน (Ankylosing Spondylitis) เป็นอีกหนึ่งโรคที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยและถือเป็นภัยเงียบที่คนป่วยแทบไม่รู้ตัว เพราะกระดูกในส่วนที่เป็นจะค่อย ๆ ยุบตัวลงหรือโดนกัดกร่อนลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดอาการปวดอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่จะเป็นที่บริเวณกระดูกสันหลังและข้อสะโพก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติเป็นไปได้ยาก ต้องอาศัยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว ถือว่ามีความเสี่ยงและอันตรายมาก
- สาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคกระดูกพรุน มีหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์, อายุ, พฤติกรรมในการบริโภคอาหารและการขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ และการขาดสารอาหารประเภทแคลเซียมซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง นอกจากนี้อาหารและเครื่องดื่มบางประเภทส่งผลต่อการขับแคลเซียมออกจากร่างกายอีกด้วย เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ น้ำอัดลม, อาหารรสเค็ม จะไปลดการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย และกระตุ้นให้ขับแคลเซียมออกจากร่างกาย
สำหรับใครที่คิดว่าอาการปวดข้อแค่พักผ่อนเดี๋ยวก็หาย อยากให้คิดใหม่และอย่านิ่งนอนใจ หากปล่อยไว้จะกลายเป็นการปวดเรื้อรังจนยากจะรักษา การพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาและวินิจฉัยแต่เนิ่น ๆ จะเป็นการดีที่สุด อย่าปล่อยให้ปวดรุนแรงจนยากเกินจะแก้ไข