วิธีสังเกตว่าเราเป็นมะเร็งเต้านม

เราจะสังเกตได้อย่างไรว่าเราเป็นมะเร็งเต้านม

จากข้อมูลโรคมะเร็งปี 2556-2558 ระบุว่าสถิติการเกิดมะเร็งในผู้หญิงสูงสุดอันดับหนึ่ง คือ มะเร็งเต้านม ถัดมาเป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดี

มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปอด ตามลำดับ มะเร็งเต้านม เป็นชนิดที่มีโอกาสลุกลามไปยังส่วนอื่นของอวัยวะได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากเกิดและโตได้ในต่อมน้ำเหลืองทำให้กระจายตัวได้ง่าย แต่ด้วยเทคโนโลยีและการเข้าถึงข้อมูลด้านการแพทย์ที่ง่ายขึ้นทำให้สามารถทราบอาการได้เร็วตั้งแต่ระดับเริ่มต้นระยะที่ศูนย์ คือ เป็นการผิดปกติของเซลล์ผิวชั้นนอกยังไม่ใช่เซลล์มะเร็งแต่มีโอกาสพัฒนาต่อมาเป็นเซลล์มะเร็งได้ ถ้ารีบเข้ารับการรักษาทันที ก็มีโอกาสหายขาดได้ไม่ยาก คำถามคือแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นมะเร็งเต้านม คุณผู้หญิงวัย 35-40 ปีขึ้นไปโปรดสังเกตความผิดปกติของอาการเหล่านี้ 

  1. เป็นก้อนที่เต้านม เราอาจคลำพบก้อนที่เต้านมขณะมีประจำเดือนซึ่งถ้าเป็นปกติมันจะต้องหายไปหลังจากมีประจำเดือน แต่หลังจากประจำเดือนหมดแล้วแต่ก้อนยังคงอยู่แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น หรือในบางคนอาจคลำพบก้อน หรือต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณรักแร้ อย่างไรก็ตามการตรวจพบก้อนที่เต้านมอาจยังไม่สามารถสรุปได้ทันทีด้วยตัวเองว่าเป็นมะเร็งเต้านม เมื่อพบความผิดปกตินี้ให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อทันที 
  2. รูปร่าง สัดส่วน หรือโครงร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
  3. เจ็บไม่หายหรือกดเจ็บ มีอาการเจ็บต่อเนื่องนาน ๆ หรือลองเอามือกดแล้วรู้สึกเจ็บให้เดาก่อนว่าอาจเป็นอาการเริ่มต้น 
  4. เนื้อเยื่อเต้านมหนาหรือแข็งขึ้นบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือสีผิวของเต้านมคล้ำมากขึ้นกว่าปกติ
  5. ผิวหนังหดกลับมีอาการเหมือนถูกดึงรั้ง เป็นรอยบุ๋มคล้ายลักยิ้ม หัวนมแห้งเป็นเกล็ด อุณหภูมิเต้านมสูงขึ้นรู้สึกร้อนเป็นผื่นแดงบริเวณโดยรอบหัวนม ซึ่งหากเป็นอาการผื่นแดงจากการอักเสบทั่วไป ภูมิแพ้ โรคผิวหนัง หรือเกิดจากพิษแมลงกัดต่อยเมื่อทายาอาการจะหายไป แต่หากเข้ารับการรักษาแล้วยังไม่หายอาจจะมีอาการอักเสบตามมาอาจมีอาการคันเพิ่มขึ้นด้วย  
  6. หัวนมมีน้ำใสหรือเลือดไหลออกมา ทั้งนี้เพราะเซลล์มะเร็งเริ่มก่อตัวในท่อน้ำนมจากนั้นจะค่อย ๆ แสดงอาการอักเสบขึ้นมาบริเวณหัวนม แล้วค่อยลามไปถึงผิวโดยรอบหัวนม (ลานหัวนม) 
  7. การขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะผิดปกติ  

สมาชิกในครอบครัวที่มีประวัติเป็นมะเร็งชนิดนี้จะมีความเสี่ยงที่คนในครอบครัวจะเป็นด้วย เพื่อให้รู้เท่าทันผู้หญิงทุกคนควรหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเอง และพบแพทย์ตามช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดย ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 18-60 ปีควรตรวจด้วยตัวเองทุกเดือน,30-39 ปี พบแพทย์ 3 ปีครั้ง,40 ปีพบแพทย์ถี่ขึ้นเป็นปีละครั้ง และอายุ 70 ปีขึ้นไปให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ที่จะพิจารณาให้ตรวจตามความเสี่ยงที่พบในขณะนั้น ๆ ส่วนจะตรวจด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์ด้วยเช่นกัน อย่าลืมว่านอกจากความถี่ในการไปพบแพทย์ข้างต้นแล้วยังคงต้องตรวจด้วยตนเองทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง และให้ตรวจขณะที่เต้านมอ่อนนุ่ม ไม่คัดตึงหรือเจ็บ ตรวจบ่อย รู้เร็ว รักษาเร็ว มีโอกาสรอดร้อยเปอร์เซ็นต์