โรคร้ายซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทยติดต่อกันมาอย่างยาวนาน นั่นก็คือ “มะเร็ง” ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยและเกิดขึ้นได้
กับหลายส่วนของร่างกาย อาทิ ผิวหนัง เต้านม ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ รังไข่ ต่อมลูกหมาก ต่อมน้ำเหลือง รวมทั้งมะเร็งกระดูกซึ่งมีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่ามะเร็งชนิดอื่น
มะเร็งกระดูกมีหรือไม่ ?
ชื่อของมะเร็งกระดูกอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูสักเท่าไรนักเนื่องจากพบได้น้อย ทั้งยังไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แต่ส่วนใหญ่พบว่ามาจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์กระดูกจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
มะเร็งกระดูกแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
โรคมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ เกิดจากความผิดปกติของเซลล์กระดูกเองซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก โดยเซลล์มะเร็งจะเริ่มก่อตัวบริเวณกระดูกที่เป็นแนวยาวก่อน เช่น กระดูกแขน หรือกระดูกขา ทำให้รู้สึกเจ็บและบวมแดงในบริเวณดังกล่าว มะเร็งกระดูกชนิดนี้มีปัจจัยเสี่ยงจาก
โรคมะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ เกิดจากเซลล์มะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากอวัยวะส่วนอื่นแล้วลุกลามแพร่กระจายมาที่กระดูก พบได้บ่อยคือแพร่มาจากมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งไต และมะเร็งต่อมไทรอยด์
ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคมะเร็งกระดูก
แม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยแต่มะเร็งกระดูกมักจะมีอาการของโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาอย่างทันท่วงทีกรณีที่เป็น เพราะหากเข้าสู่ระยะลุกลามแล้วจะรักษายากทำได้เพียงประคองอาการเท่านั้น ทั้งนี้ผู้ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคสูง
การรักษาโรคมะเร็งกระดูก
แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาโดยพิจารณาจากชนิดและระยะการลุกลามของโรค อาทิ ให้ยาแก้ปวด ยาต้านฮอร์โมนหรือยาลดแคลเซียมในเลือดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น หรืออาจจะต้องมีการผ่าตัดอวัยวะส่วนที่เป็นมะเร็งทิ้งไปเพื่อป้องกันการลุกลามไปยังบริเวณอื่น รวมทั้งการใช้รังสีบำบัดและเคมีบำบัดเพื่อฆ่าเชื้อมะเร็งซึ่งทำให้มีผลข้างเคียง เช่น ผมร่วง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน และติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากเม็ดเลือดขาวต่ำ โดยภาวะต่าง ๆ เหล่านี้จะหายไปหลังจากทำการรักษาเสร็จสิ้นแล้ว การรักษามะเร็งกระดูกอาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือควบคู่หลายวิธีก็ได้ขึ้นอยู่กับสุขภาพและความพอใจของผู้ป่วย สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดและรับการรักษาอย่างต่อเนื่องมิฉะนั้นจะทำให้อาการของโรคลุกลามอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถรักษาได้และอาจเสียชีวิตในที่สุด
การป้องกันมะเร็งกระดูก
การป้องกันมะเร็งกระดูกทำได้ยากเนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรค ทั้งไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าและปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองเบื้องต้น จำเป็นต้องอาศัยวิธีการสังเกตความผิดปกติอย่างใกล้ชิดจึงจะตรวจพบมะเร็งกระดูกในระยะเริ่มแรกได้