ข้าว เป็นอาหารหลักสำหรับคนไทยมาตั้งแต่ในอดีต แต่ด้วยกระบวนการผลิตที่เปลี่ยนไป มีเครื่องจักรเข้ามาใช้
งานแทนแรงงานคนมากขึ้น ทำให้ข้าวที่สีออกมาส่วนใหญ่เป็นข้าวขาวขัดสี กากใยและสารอาหารหลายอย่างลดลง คงไว้ซึ่งคาร์โบไฮเดรตที่พร้อมเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลในเลือดมากถึง 90% ภายในระยะเวลาเพียง 30-90 นาทีเท่านั้น ส่งผลให้คนที่เป็นเบาหวานต้องหลีกเลี่ยงการกินข้าวขาวแบบขัดสี เพราะจะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
ในบรรดาอาหารหลักทั้ง 5 หมู่ คาร์โบไฮเดรต ที่เป็นผลผลิตจากข้าว แป้งต่าง ๆ หรือแม้แต่พืชบางชนิด ถือเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง เมื่อบริโภคเข้าไป ร่างกายจะนำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลเสียก่อนที่จะนำไปใช้ หากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่ถูกแปรรูปไปใช้ได้หมด น้ำตาลก็จะถูกแปรรูปไปเป็นไขมันเพื่อสะสมเป็นพลังงานสำรองให้ร่างกายได้ใช้ต่อไป แต่ด้วยกระบวนการแปรรูปจากคาร์โบไฮเดรตไปเป็นน้ำตาลจะเกิดขึ้นค่อนข้างเร็วมาก ถ้ากิจกรรมที่ทำอยู่และนำน้ำตาลไปใช้ได้น้อยกว่าที่ผลิตได้ ก็จะทำให้เกิดปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานหรือกลุ่มคนที่มีปัญหาในเรื่องของตับอ่อน ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคข้าวขาวขัดสี เพราะจะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นสูงและอาจเป็นอันตรายได้
จากผลสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าคนไทยมากกว่า 3.2 ล้านคน กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวานและมีผู้ป่วยประมาณ 2 ล้านคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และยังคงควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดของตนเองไม่ได้ หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวาน
ดังนั้น เพื่อลดปริมาณน้ำตาลในเลือดและห่างไกลจากโรคเบาหวาน มีคำแนะนำดังนี้
จะเห็นว่าการกินข้าวขาวหรือข้าวสวยร้อน ๆ สามารถที่จะเพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นได้จริง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทางร่างกายและปริมาณที่บริโภคข้าวที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ กับกลุ่มคนที่ใช้แรงในการทำงาน จะมีกระบวนการย่อยอาหารที่แตกต่างกัน หากต้องการที่จะหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน เลือกรับประทานข้าวที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็ห่างไกลจากโรคร้ายได้แล้ว