ลำไส้แปรปรวน ห้ามกิน 3 อย่างนี้

ลำไส้แปรปรวน ห้ามกิน 3 อย่างนี้

โรคลำไส้แปรปรวน หรือ IBS เป็นภาวะผิดปกติของระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้น

บริเวณ ปลายลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้องหรือไม่สบายท้อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะระบบขับถ่าย, ท้องผูก, ท้องเสียหรือผสมกันทั้งท้องผูกและท้องเสีย 

  • อาการของลำไส้แปรปรวน

อาการของโรคลำไส้แปรปรวนมักจะเริ่มต้นด้วยอาการปวดท้อง อึดอัดท้อง ไม่สบายท้อง ซึ่งมักจะเป็นแบบเรื้อรังหรือ เป็น ๆ หาย ๆ ในระยะเวลานาน ๆ ร่วมกับอาการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น มีอาการท้องผูกหรือขับถ่ายไม่เป็นเวลา ขับถ่ายยาก ท้องเสียหรือมีอาการผสมระหว่างท้องผูกและท้องเสีย

  • สาเหตุของลำไส้แปรปรวน

สำหรับสาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มีปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ เช่น การติดเชื้อจากแบคทีเรียและเชื้อราในลำไส้ ความเครียดส่งผลให้เกิดการบีบรัดของลำไส้ ปัญหาของระบบการย่อยอาหาร, ความไวต่อการกระตุ้นในระบบทางเดินอาหาร, การใช้ยาและพันธุกรรม นอกจากนี้ยังมีอาหารบางชนิดที่ไปกระตุ้นระบบทางเดินอาหารทำให้โรคลำไส้แปรปรวนกำเริบขึ้นมาได้ 

  • อาหาร 3 อย่างที่คนเป็นลำไส้แปรปรวนห้ามกิน
  1. อาหารรสจัด

เพราะอาหารรสจัดจะไปก่อให้เกิดแก๊สในกระเพราะอาหารด้วย นอกจากนี้อาหารรสจัดยังไปกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองในกระเพราะอาหาร, ลำไส้ ได้ง่าย ในบางรายอาจถึงขั้นทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง หากเป็นไปได้ให้งดและเปลี่ยนพฤติกรรมให้หันมากินอาหารรสจืดแทน 

  1. อาหารกลุ่ม FODMAP

FODMAP หรือ Fermentable Oligosaccharides, Disaccharides, Monosaccharides, and Polyols คือกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตสายสั้น ที่พบในอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ปวดท้องและอาการทางเดินอาหารอื่น ๆ โดยอาหารดังกล่าวจะไม่ได้รับการดูดซึมหรือดูดซึมได้น้อยที่บริเวณลำไส้เล็ก ส่งผลให้อาหารไม่ย่อยทำให้เป็นสาเหตุของท้องอืดและท้องเสียได้ อาหาร FODMAP ได้แก่

  • Oligosaccharides หอมหัวใหญ่ หัวหอม กระเทียม และหัวหอมญี่ปุ่น รวมถึงโอลิโกแซคคาร์ไฮเดรตแบบผสมที่พบในข้าวโอโตโต้และข้าวสาลี
  • Disaccharides ที่พบได้ในนมและผลิตภัณฑ์นม
  • Monosaccharides ในผลไม้และอาหารอื่น ๆ เช่น แอปเปิล ลิ้นจี่ และมะนาว โดยรวมถึงแฟรกโทสที่อาจเป็นทั้งตามธรรมชาติและที่ผลิตขึ้นมา
  • Polyols รวมถึงโซรบิโทล (sorbitol) และมานิโทล (mannitol) ที่พบในอาหารเช่น ผลไม้และผลิตภัณฑ์ขนมหวานที่ใช้โซรบิโทลเป็นวัตถุให้ความหวาน
  1. อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์อาจทำให้ลำไส้แปรปรวนแย่ลง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น เบียร์, ไวน์และสุราประเภทต่าง ๆ 

  • แนวทางในการรักษาลำไส้แปรปรวน

การรักษาลำไส้แปรปรวนมักมุ่งเน้นการบรรเทาอาการท้องอืด ปวดท้องและท้องเสียในระบบทางเดินอาหาร เป็นลำดับต้น ๆ ในขณะเดียวกันผู้ป่วยจะต้องดูแลรักษาตนเองให้ดีและปฏิบัติตัวดังนี้

  • พยายามไม่เครียด 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
  • ดื่มน้ำสะอาดให้ได้ปริมาณ 2- 3 ลิตรต่อวัน
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา 
  • งดชา กาแฟและเครื่องดื่มที่มีส่วนผวมของคาเฟอีน
  • พยายามเคี้ยวอาหารให้ละเอียดและเคี้ยวอย่างช้า ๆ 
  • หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลำไส้แปรปรวนอย่างรุนแรงจะต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยตรง เพราะจะต้องได้รับยารักษาบางประเภทที่เกี่ยวกับวิธีการรักษาโดยเฉพาะ นอกจากนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ด้วยเช่นกัน