โรคพิษสุราเรื้อรังคือ โรคที่มีภาวะทางสุราที่เป็นพิษ โดยพิษดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อร่างกาย โดยภาวะนี้
เกิดขึ้นเมื่อมีการบริโภคสุราเกินขนาดหรือรับเข้าไปในร่างกายในปริมาณที่มากเกินไปอยู่เป็นประจำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งอาการของผู้ป่วยจะค่อย ๆ สังเกตได้จากสภาพร่างกายที่ค่อย ๆ ทรุดโทรม โดยในช่วงแรก ๆ อาจมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องผูก มือสั่น ปัสสาวะผิดปกติ ลมหายใจติดขัด บางรายรุนแรงจนถึงขั้นมีอาการช็อค หมดสติ นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมก้าวร้าว เบื่ออาหาร ขาดสติยั้งคิด มีปัญหาเรื่องความจำ
โรคพิษสุราเรื้อรังสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและผลกระทบต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ไต ตับ สมอง ระบบประสาท ระบบหัวใจและระบบการหายใจ โดยเฉพาะตับ เพราะจะทำให้เกิดอาการตับอักเสบ (alcoholic hepatitis) และโรคตับอักเสบเรื้อรัง (chronic alcoholic liver disease) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการทำลายเซลล์ตับและการสะสมไขมันในตับ
อีกอวัยวะหนึ่งที่สำคัญและได้รับผลกระทบโดยตรงจากการป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังได้แก่ สมอง การดื่มสุราเป็นประจำอย่างต่อเนื่องอาจเป็นสาเหตุของอาการสมองเสื่อม (dementia) และอาการสั่น (tremors) ที่เกิดจากการทำลายเซลล์ในสมอง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด สำหรับผู้ที่ดื่มสุราเกินขนาดอาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด (coronary heart disease) และความดันโลหิตสูง (hypertension) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจอื่น ๆ
การรักษาโรคพิษสุราเรื้อรังหลายคนคิดว่าเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่ให้ผู้ป่วยเลิกดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือที่หลายคนเรียกว่าการหักดิบ แต่หารู้ไม่ว่าเป็นวิธีการที่อันตรายมาก ๆ บางคนอาจถึงขั้นช็อคจนเสียชีวิตได้
ดังนั้นควรเน้นไปที่การรักษาเชิงป้องกันโดยการให้น้ำเกลือเพื่อเสริมสารซูโครส์และเลือดเกิดใหม่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงกลับสู่สภาวะปกติได้เร็วที่สุด ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคสุราให้น้อยลง จนถึงขั้นเลิกได้ด้วยตนเอง
หากพบว่าคุณมีอาการอย่างน้อย 3 ใน 5 ข้อข้างต้น ให้สันนิษฐานว่าคุณกำลังติดสุรา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาอย่างจริงจัง มิเช่นนั้นแล้วหากปล่อยไว้นานจะยิ่งทำให้ร่างกายทรุดโทรมส่งผลเสียต่อชีวิต ทั้งด้านการงาน ครอบครัวและร่างกายจนถึงขั้นสมองเสื่อมและเสียชีวิตได้