จริง ๆ แล้วโรคหลอดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง มีปัจจัยหลักมาจากไขมันชนิดเลวที่เข้าไป
เกาะรวมตัวตามหลอดเลือดส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำให้หัวใจต้องสูบฉีดโลหิตด้วยความดันสูง จนกลายเป็นโรคความดัน และตามมาด้วยโรคอันไม่พึงประสงค์ที่กล่าวมาทั้งหมด คุณสามารถห่างไกลจากโรคเหล่านี้ได้ เพียงปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตัวคุณเอง ด้วยเทคนิคที่จะช่วยให้คุณยังคงมีความสุขอยู่กับการกินไปพร้อม ๆ กับการควบคุมความดันได้ดังนี้
5 เทคนิคเจ๋ง ๆ ที่ช่วยให้การรับประทานอาหารมีความอร่อย แถมควบคุมความดันได้
เทคนิคการรับประทานอาหารที่ช่วยทั้งควบคุมความดันโลหิต ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังให้รสชาติที่อร่อย สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงคุณระมัดระวังและเข้าใจอาหารที่กำลังรับประทานด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
โซเดียมสามารถจำกัดความได้ง่าย ๆ ว่า “รสเค็ม” อันเกิดจากอาหารแปรรูปทุกชนิด เช่น เครื่องปรุงต่าง ๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเบเกอรี่ ซึ่งในอาหารตามธรรมชาติจะมีปริมาณโซเดียมต่ำอยู่แล้ว แต่สำหรับอาหารแปรรูปผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยง ส่วนผู้ที่มีร่างกายปกติควรรับประทานแค่พอดี รวมไปถึงอาหารรสจัด และน้ำซุป น้ำแกงต่าง ๆ ด้วย ใครที่ชอบซดน้ำซุปร้อน ๆ ควรระมัดระวัง
ผักและผลไม้จะมีทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และน้ำตาลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถช่วยควบคุมความดันโลหิต อีกทั้งในผักบางชนิดยังช่วยลดไขมันในเส้นเลือด เช่น บรอกโคลี กะหล่ำดอก กระเทียม มะเขือม่วง หอมใหญ่ เป็นต้น เทคนิคการรับประทานผักและผลไม้คือ ควรเลือกรับประทานให้หลากหลายชนิด และหลากหลายสีสัน ผ่านการปรุงสุกน้อยที่สุด
หมายความว่าไขมันสัตว์ยังคงรับประทานได้อยู่ แต่ควรเลือกชนิดที่มีไขมันต่ำ เช่น คุณสามารถรับประทานเนื้ออกไก่ติดหนังได้ คุณสามารถรับประทานสันในหมูได้ และคุณสามารถรับประทานปลาหนังได้ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้ชีวิตมีความสมดุล ไม่เครียดมากจนเกินไป และทุกครั้งที่รับประทานเนื้อสัตว์ควรจำกัดปริมาณ และควรมีผักผลไม้รวมอยู่ด้วย
ต้องยอมรับว่าอาหารประเภททอดและปิ้งย่างให้รสชาติที่กลมกล่อม และเอร็ดอร่อยมากกว่าอาหารประเภทต้มหรือนึ่ง ดังนั้นหากชีวิตขาดความกรุบกรอบและหอมหวนของอาหารทอดและปิ้งย่างไม่ได้ ควรเลือกเมนูที่ทำจากการอบแทน โดยคุณอาจจะใส่น้ำมันมะกอกลงไปนิดหน่อย หรือใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อย่างน้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันถั่วลิสง
แคลเซียมนอกจากจะช่วยบำรุงกระดูกและฟันแล้ว ยังสามารถรับประทานเพื่อควบคุมความดันโลหิตได้ดี โดยเฉพาะแคลเซียมที่อยู่ในน้ำนม ร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้เร็ว ดังนั้นหากคุณเลือกรับประทานน้ำนมมากกว่าปลาที่กินได้ทั้งกระดูก คุณควรเลือกนมชนิดจืดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การรับประทานอาหารของคุณ สามารถควบคุมความดันโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือพยายามคิดว่าการกินแบบนี้คือวิถีชีวิต ไม่ใช่การกินเพื่อควบคุมโรค เพราะ Mindset ที่เราตั้งเป้าหมายไว้จะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะทำได้ตลอดไปหรือไม่ หากกินเพื่อควบคุมโรคสักวันคุณจะหมดความอดทน แต่ถ้ากินเป็นวิถีชีวิตที่คุณมีความสุขที่ต้องกินจนเป็นประจำ คุณจะสามารถทำได้ตลอดไป