ลำไส้อับเสบ ห้ามรับประทานอะไรบ้าง

ลำไส้อับเสบ ห้ามรับประทานอะไรบ้าง

ใครกำลังมีอาการปวดท้องบิด ท้องเสีย มีไข้ หรือในบางรายพบว่ามีอาการอาเจียนร่วมด้วยนั้น อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคลำไส้อักเสบ

ที่ผู้ป่วยควรรีบทำการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะการถ่ายท้องบ่อยสามารถส่งผลให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำและทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ซึ่งแตกต่างจากอาการท้องเสียธรรมดาที่ถ่ายท้องไม่ 2 – 3 ครั้งก็หายเป็นปกติ 

ลำไส้อักเสบเกิดจากอะไร

โรคลำไส้อักเสบสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุหลัก ได้แก่

  1. เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาการของโรคลำไส้อักเสบสามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันหลังจากรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน 
  2. เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง หลายคนที่มีอาการของโรคลำไส้อักเสบแต่แน่ใจว่ารับประทานอาหารถูกสุขลักษณะสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่องจึงไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ 

ลำไส้อักเสบกินอะไรได้บ้าง

เนื่องจากลักษณะอาการของโรคลำไส้อักเสบมักทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องหลังจากรับประทานอาหาร เนื่องจากผนังลำไส้มีความบอบบาง ผู้ป่วยจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ทำให้เกิดอาการปวดท้องมากขึ้น โดยวิธีการเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ มีดังนี้

  1. อาหารปรุงสุกใหม่ เนื่องจากลำไส้เกิดการติดเชื้อจึงไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เพื่อลดความเสี่ยงต่อสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ เช่น ข้าวต้มปลากะพง เมนูข้าวต้มเป็นเมนูที่ไม่เพียงแต่สามารถทำใหม่มื้อต่อมื้อได้ง่ายแต่ยังอุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนที่ร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่เหมาะสมต่อความต้องการได้ เป็นต้น
  2. รสชาติไม่เผ็ดร้อน เนื่องจากผนังของลำไส้มีความบอบบาง ผู้ป่วยจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ปรุงรสจัด เพราะจะทำให้อาการปวดท้อง ท้องเสียเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด เค็ม หวาน มากเกินไป เช่น โยเกิร์ตสูตรหวานน้อยและผลไม้เพิ่มวิตามิน การรับประทานโยเกิร์ตจะช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกายและการรับประทานคู่กับผลไม้ที่ให้ไขมันดีอย่างอโวคาโดและกล้วยจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่เหมาะสมพร้อมกับอิ่มท้องแต่ไม่หนักท้องจนเกินไป
  3. ย่อยง่ายแต่ให้พลังงานสูง เนื่องจากผู้ป่วยหลายคนไม่ยอมรับประทานอาหาร หรือทานอาหารได้น้อย ซึ่งส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายแต่ให้พลังงานสูงจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานอาหารมากแต่ก็ได้รับพลังงานที่เพียงพอ เช่น ไข่ตุ๋นใส่แครอท การรับประทานไข่ที่อุดมไปด้วยโปรตีนจะทำให้ร่างกายฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว เพราะเซลล์จะได้รับพลังงานจากโปรตีน ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอ รวมถึงการรับประทานแครอทจะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินเอที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระ เป็นต้น
  4. จิบน้ำสะอาดบ่อย ๆ การดื่มน้ำบ่อย ๆ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการจะทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ เซลล์ในร่างกายจะฟื้นตัวไวยิ่งขึ้นและทำให้อาการปวดท้อง ท้องเสีย เนื่องจากลำไส้อักเสบหายไวยิ่งขึ้น หรือดื่มน้ำที่ผสมกับเกลือแร่ โอ อาร์ เอส เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำในร่างกายร่วมด้วย

การหมั่นล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร สังเกตความสะอาดของภาชนะ รับประทานอาหารที่ปรุงใหม่อย่างถูกสุขลักษณะ พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายสม่ำเสมอ คือ วิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลำไส้อักเสบที่ง่ายที่สุด