ไอเรื้อรังนาน สัญญาณเสี่ยง ขาดอากาศ เสี่ยงหัวใจ

ไอเรื้อรังนาน สัญญาณเสี่ยง ขาดอากาศ เสี่ยงหัวใจ

ไอเรื้อรัง เป็นภาวะของอาการไอติดต่อกันเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานกว่า 8 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ซึ่งไอเรื้อรัง

เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ และภาวะไอเรื้อรังยังเป็นสัญญาณเตือนสุขภาพหลาย ๆ โรคอีกด้วย มาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะไอเรื้อรัง เพื่อสังเหตุอาการและการปฏิบัติตัวหลังจากมีอาการดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมรับการรักษาที่ถูกต้อง

สาเหตุของอาการไอเรื้อรัง 

ไอเรื้อรังเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ มีทั้งอาการไอที่เกิดจากโรคหรืออาการเจ็บป่วยของร่างกาย และเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน สำหรับในประเทศไทยแล้ว เกิดจากสาเหตดังนี้

  • การสูบบุหรี่เป็นประจำ เนื่องจากหลอดลมอักเสบเรื้อรังจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน หรือเป็นโรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่
  • เป็นโรคจมูกอักเสบจากอาการไซนัสอักเสบและอาการภูมิแพ้
  • วัณโรคปอด คนที่เป็นวัณโรคปอดมักมีอาการไอเรื้อรัง และมีเสมหะปนเลือด พร้อมกับอาการร่วมอื่น ๆ ได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด และมีไข้ต่ำ
  • ๆ หากใครมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ลองเช็กตัวเองดูว่า เคยไปสัมผัสกับคนที่ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ หากมีประวัติควรรีบเข้าไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาอย่างถูกโรคและถูกทาง
  • โรคหอบหืด อาการไอเรื้อรังมีทั้งอแบบแห้ง และไอแบบมีเสมหะ คนที่เป็นโรคหอบหืด มักจะมีอาการหายใจติดขัด หรือมีเสียงวี๊ดเวลาหายใจ ร่วมกับอาการไอ
  • อาการไอที่เกิดจากการทานยารักษาโรคบางชนิด เช่น ทานยาควบคุมความดันโลหิตสูง ในกลุ่ม ACEI ในบางคนจะมีอาการไอแห้งๆ ซึ่งมักจะเกิดอาการขึ้นหลังจากที่ทานยาในกลุ่มดังกล่าวผ่านไป 1 – 2 เดือน

ไอเรื้อรังมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้หลายโรค เช่น

  • โรคหลอดลมอักเสบ โรคติดเชื้อในหลอดลม ต้องให้แพทย์วินิจฉัยพร้อมซักประวัติเพิ่ม
  • โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เจอกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นอาการไอมีเสมหะร่วมกับอาการหอบและเหนื่อยง่าย พร้อมกับการหายใจเสียงดัง
  • โรคไซนัสอักเสบ มักมีอาการไอในช่วงเวลากลางคืน เพราะไซนัสอักเสบมักจะมีอาการเป็นหวัด เวลานอนน้ำมูกจะไหลลงคอทำให้เกิดอาการไอ
  • โรคภูมิแพ้ อาการหลัก ๆ ส่วนใหญ่จะคัดจมูก คันจมูก จามบ่อย ไอ เมื่อร่างกายต้องการขจัดเชื้อโรค
  • วัณโรคปอด มักจะเกิดอาการไอเรื้อรังเมื่อโรคลุกลามมากขึ้น บางรายอาจไอเป็นเลือดกับอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย

ไอเรื้อรังนาน สัญญาณเสี่ยง ขาดอากาศ เสี่ยงหัวใจ

นอกจากความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น อาการไอเรื้อรังเป็นระยะเวลานานยังทำให้ร่างกายเสี่ยงที่จะขาดอากาศหายใจอีกด้วย การไอติดต่อกันทำให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายน้อย เนื่องจากเวลาที่ร่างกายไอเป็นการเอาออกซิเจนออกจากร่างกาย ยิ่งเป็นการไอติดๆ กันหลายครั้งเป็นระยะเวลายาว ๆ ร่างกายจะได้รับออกซิเจนน้อย ออกซิเจนเข้าสู่หัวใจในปริมาณต่ำ อาจส่งผลให้เกิดภาวะการหายใจไม่อิ่ม จนเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจล้มเหลวได้

อาการไอ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย ยิ่งเป็นการไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ ยิ่งต้องใส่ใจสังเกตอาการ เพราะทุกอาการที่เกิดขึ้นมักจะบ่งชี้สภาพหรืออาการเจ็บป่วยของร่างกาย อย่าวางใจว่าเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงคงไม่ป่วยเป็นอะไร เพราะโรคร้ายหลายโรคมักจะไม่แสดงอาการให้เรารู้ตัว จนกว่าจะเป็นในระยะลุกลามหรือระยะที่ไม่สามารถรักษาได้แล้ว ดังนั้นทุกอาการเจ็บป่วยของร่างกายเป็นสัญญาณเตือนให้เรารู้ว่าร่างกายเรากำลังเกิดปัญหาสุขภาพ เพื่อความสบายใจและอุ่นใจควรไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่น ๆ หากตรวจเจอโรคจะได้หาวิธีการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น