โรคตับอักเสบ B มีวิธีการรักษาหรือไม่

โรคตับอักเสบ B มีวิธีการรักษาหรือไม่

ในการเข้าสู่ภาวะตับแข็งหรือมะเร็งตับ ช่วยลดพังผืดในตับทำให้ภาวะตับแข็งดีขึ้น

การฉีดยา เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานของผู้ป่วยเป็นหลัก แต่ก็มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสด้วย โดยจะต้องฉีดยา Pegylated interferon เข้าใต้ผิวหนังสัปดาห์ละครั้ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งยาฉีดให้ผลตอบสนองที่ดีและออกฤทธิ์ได้นานแม้ว่าจะหยุดฉีดไปแล้วก็ตามจึงมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้น้อยกว่า แต่ก็มีผลข้างเคียงมากกว่าเช่นกัน

เนื่องจากการรักษาโรคตับอักเสบ B ต้องพิจารณาถึงการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสร่วมกับการอักเสบของตับ นอกจากนั้นแล้วบางช่วงของโรคอาจจะตอบสนองต่อการรักษาได้น้อยผู้ป่วยจึงต้องเข้าใจด้วยว่าสภาวะโรคของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การรักษาจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ

วิธีการป้องกันโรคตับอักเสบ B ที่ดีที่สุดคือการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเช็กค่าตับว่าปกติหรือไม่ ฉีดวัคซีนป้องกัน หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ไม่สัมผัสและ“ตับ” มีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายทั้งสะสมสารอาหารไว้ใช้ยามจำเป็น เปลี่ยนโครงสร้างสารอาหารให้อยู่ในรูปที่เซลล์สามารถนำไปใช้ได้ ผลิตน้ำดีเพื่อช่วยย่อยสลายไขมันในลำไส้ รวมทั้งกำจัดสารพิษและของเสียต่าง ๆ ในร่างกาย จึงจะเห็นได้ว่าการทำงานของตับส่งผลเชื่อมโยงกับระบบส่วนอื่น ๆ ดังนั้นหากตับเกิดความผิดปกติขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพอย่างแน่นอน

ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปคนรุ่นใหม่จึงเป็นโรคเกี่ยวกับตับกันง่ายขึ้น อาทิ ไขมันเกาะตับ ตับแข็ง และไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งสามารถพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับได้ โดยพบว่าประมาณ 70 – 75% ของผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทยมีสาเหตุมาจากโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้กว่า 3.5 ล้านคน ทั้งนี้โรคไวรัสตับอักเสบยังเป็นโรคติดเชื้อที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากเป็นลำดับต้น ๆ ด้วย

โรคตับอักเสบ B คือ สภาวะที่ตับเกิดการอักเสบและถูกทำลายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี โดยหากติดเชื้อนานกว่า 6 เดือน จะเข้าสู่การเป็นตับอักเสบเรื้อรังทำให้มีพังผืดเกิดขึ้นที่ตับ ตับแข็ง และกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด 

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B มี 4 ช่องทางหลัก ได้แก่

  1. การติดต่อจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสสู่ทารกในครรภ์ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ดังนั้นจึงควรตรวจเลือดมารดาตั้งแต่เริ่มวางแผนที่จะมีบุตรหรือระหว่างตั้งครรภ์เพื่อการป้องกันไม่ให้ทารกแรกเกิดได้รับเชื้อ  
  2. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อโดยไม่ป้องกัน
  3. สัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น เลือด น้ำเหลือง น้ำเชื้อ ผ่านทางบาดแผลหรือรอยถลอกที่ผิวหนัง แต่จะไม่แพร่เชื้อด้วยน้ำลายและการให้นมบุตร   
  4. ใช้อุปกรณ์หรือของใช้ส่วนตัวที่มีโอกาสปนเปื้อนเลือดร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เข็มฉีดยา กรรไกรตัดเล็บ มีดโกนหนวด แปรงสีฟัน การสัก เป็นต้น

อาการของโรคตับอักเสบ B มี 2 ระยะ คือ

  • ระยะเฉียบพลัน (1 – 4 เดือนแรกหลังจากได้รับเชื้อ) จะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ตัวเหลือง ตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปัสสาวะเหลืองเข้ม และอาจจะมีอาการปวดท้องด้านขวา ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน 
  • ระยะเรื้อรัง (6 เดือนขึ้นไปหลังจากได้รับเชื้อ) หากผ่านไป 6 เดือน แล้วยังมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ แสดงว่าโรคเข้าสู่ระยะเรื้อรังซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยบางรายอาจจะยังไม่แสดงอาการขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม และจำนวนไวรัสที่อยู่ในตับของแต่ละคน อาการที่พบคือตับจะเริ่มทำงานผิดปกติ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตาเหลือง ตัวเหลือง ท้องโต มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึม ไม่รู้สึกตัว อาจจะเกิดภาวะตับวาย ตับแข็ง กลายเป็นมะเร็งและเสียชีวิตได้ 

วิธีการรักษาโรคตับอักเสบ B 

หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องภายใต้การดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคตับอักเสบ B สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งยังจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและลดโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อด้วย โดยในปัจจุบันการรักษาโรคตับอักเสบ B มี 2 วิธี ได้แก่  

การกินยา เพื่อยับยั้งกลไกการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสจึงช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อ ลดการอักเสบของตับ ยืดระยะเวลาเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ