เช็ก 10 สัญญณเตือน ไทรอยด์ผิดปกติ

เช็ก 10 สัญญณเตือน ไทรอยด์ผิดปกติ

โรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมักมีอาการ

หลายอย่างปรากฏออกมาให้สังเกตได้ แต่ก่อนอื่นเราควรทำความรู้จักกับโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับต่อมไทยรอยด์ก่อนว่ามีโรคอะไรบ้าง

โรคของต่อมไทรอยด์มีหลายชนิด โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ

  1. ไฮเปอร์ไทรอยด์ – ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เรียกอีกอย่างว่าต่อมไทรอยด์เป็นพิษ 
  2. ไฮโปไทรอยด์ -ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ 
  3. ต่อมไทรอยด์อักเสบ แบ่งเป็นอักเสบกึ่งเฉียบพลันและอักเสบเรื้อรัง 
  4. ต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ แบ่งเป็นต่อมไทรอยด์โตแบบหลายก้อน และแบบก้อนเดียว  
  5. มะเร็งต่อมไทรอยด์ 

อาการเตือน 10 อย่าง บ่งบอกไทรอยด์ผิดปกติ

  1.  อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย 

เกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของหัวใจ ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะรู้สึกเหนื่อยง่าย และอาจมีอาการใจสั่น 

  1. ง่วงตลอดเวลา

ง่วงนอนและอยากนอนตลอดเวลา ไม่กระฉับกระเฉง อาการนี้อาจเกิดจากภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ

  1. นอนไม่หลับ

แม้ว่ากลางวันจะหาวนอนขนาดไหน แต่พอถึงเวลานอนกลับนอนไม่หลับอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้เป็นเพราะต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากเกินไปทำให้ระบบประสาทส่วนกลางถูกรบกวน 

  1. ผมร่วง

ผมบางลงอย่างเห็นได้ชัด อาการหนึ่งที่สังเกตได้ว่าอาจมากจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษก็คือผมร่วง

  1. อ้วนขึ้น หรือผอมลงมากเกินไป

ไทรอยด์เป็นพิษมี 2 ลักษณะคือ ถ้าต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากเกินไปน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนน้อย ทำงานไม่ดีจะทำให้ระบบการเผาผลาญทำงานน้อยลงและน้ำหนักขึ้นมาก

  1. หิวบ่อยทานเยอะแต่น้ำหนักลด หรือทานไม่ลงแต่อ้วนขึ้น
  2. ท้องผูกบ่อย เข้าห้องน้ำน้อยเกิดจากภาวะฮอร์โมนไทรอยด์พร่อง แต่ถ้าเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะทำให้ลำไส้ทำงานมากขึ้น จึงเกิดอาการถ่ายบ่อย 
  3. หนาวมาก-ร้อนมาก

คนที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะมีอาการขี้ร้อน เหงื่อออกมากกว่าปกติ  ส่วนคนที่เกิดภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะขี้หนาวมาก

  1. ผิวแห้ง เหงื่อน้อย

เกิดเนื่องจากภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ ระบบเผาผลาญอาหารจะทำงานได้ช้าลงส่งผลให้ผิวแห้ง ไม่ค่อยมีเหงื่อออก

  1.  ใจเต้นเร็ว 

การมีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปจะเป็นตัวเร่งกระบวนการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและทำให้หัวใจเต้นเร็ว

อย่างไรก็ตาม สัญญานนี้เป็นข้อสังเกตในเบื้องต้น ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ไทยรอยด์โดยตรงก็ได้ ทางที่ดีก็คือพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยให้รู้กันไปเลยว่าใช่ไทรอยด์หรือไม่

แนวทางการรักษา

หากตรวจพบว่าเป็นโรคทางต่อมไทรอยด์ มีแนวทางรักษาดังนี้

  • สำหรับกรณีที่เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์พร่อง ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทน การรับฮอร์โมนขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของแพทย์ และอาจจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนไปตลอดชีวิตก็ได้ 
  • ส่วนกรณีของภาวะไทรอยด์เป็นพิษชนิดฮอร์โมนเพิ่ม แพทย์จะใช้ยาต้านไทรอยด์เพื่อให้ต่อมไทยรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยลง หากรักษาด้วยยาแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรหยุดยาก่อน หลังจากนั้นก็กลับมาเป็นใหม่ หรือคอโตมาก อาจพิจารณารักาด้วยการกลืนแร่ไอโอดีนและการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
  • กรณีที่พบเนื้องอก หรือมะเร็งต่อมไทรอยด์ หากเป็นชนิดก้อนเดียวที่สร้างฮอรโมนเยอะ แพทย์จะเสนอการรักษาด้วยวิธีกลืนแร่ไอโอดีน จากนั้นรักษาด้วยยาโดยให้กินไปตลอดอย่าหยุดยาเอง แต่ถ้ามีหลายก้อน รักษาได้ด้วยการผ่าตัด