ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดบุตรคุณแม่ไม่เพียงแต่ต้องปรับสภาพร่างกายให้พร้อมต่อการอุ้มท้องและคลอดบุตรเท่านั้น หากแต่ยังต้องพบกับการ
เปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่มีผลต่อสภาพจิตใจของคุณแม่ด้วย โดยเฉพาะในช่วงหลังการคลอดบุตรซึ่งระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในร่างกายจะค่อย ๆ ลดต่ำลง อาจทำให้เกิด “ภาวะซึมเศร้า” หลังคลอดได้ง่าย
รู้จักภาวะซึมเศร้าหลังการคลอดบุตร
มีรายงานว่าคุณแม่ 1 ใน 6 จะเกิดภาวะซึมเศร้าหลังจากคลอดบุตรแล้ว โดยเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ในระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรง โดยจะรู้สึกซึมเศร้า เสียใจ และหดหู่โดยไม่ทราบสาเหตุ หลายคนกังวลว่าจะไม่สามารถดูแลตนเองและเลี้ยงดูลูกน้อยได้ ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับลูก มักจะร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล ทุกข์ใจอย่างมาก ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่มีความสุข หรือเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายหมดความสนใจกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำ รวมถึงอาจรู้สึกไม่อยากอาหาร นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ โดยความรู้สึกต่าง ๆ ที่ถือเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นในช่วง 5 วันแรกหลังคลอดบุตร และมักจะหายไปเองได้ภายในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ร่างกายของคุณแม่กำลังเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากอุ้มท้องลูกน้อยมายาวนานหลายเดือน
ส่วนใหญ่พบว่าคุณแม่ที่เกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดนี้มักจะเคยมีประวัติอารมณ์อ่อนไหวง่าย มีภาวะเครียด หรือมีความผิดปกติทางอารมณ์มาก่อน โดยแบ่งกลุ่มคุณแม่หลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
จะรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไร
แม้ว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณแม่ทุกคนและอาการที่เกิดขึ้นก็จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากสงสัยว่าจะเกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง ส่วนคุณแม่ที่เกิดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มที่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ได้สามารถรับมือกับปัญหาได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
ที่สำคัญคือคนใกล้ชิดในครอบครัวถือว่ามีความสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้คุณแม่หลังคลอดก้าวข้ามผ่านภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ง่ายและรวดเร็ว