ผักคนท้องห้ามกิน

ผักคนท้องห้ามกิน

แม้ว่าผักและผลไม้จะเป็นอาหารที่ช่วยเติมเต็มวิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็นให้กับร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์และลูก

น้อย แต่ก็มีผักบางชนิดที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ดังนี้

  1. ถั่วงอก แม้ว่าสารอาหารที่อยู่ในถั่วงอกจะไม่ได้เป็นต้นเหตุของความอันตราย แต่หากเป็นถั่วงอกที่ปลูกในแหล่งเพาะปลูกที่ไม่เหมาะสม สามารถทำให้ถั่วงอกนั้นกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย เช่น ซัลโมเนลลาและอีโคไล เมื่อเกิดการติดเชื้อสามารถทำอันตรายต่อทารกในครรภ์และยังเพิ่มโอกาสในการคลอดก่อนกำหนดด้วย
  2. เห็ดฮิราตาเกะ หรือเห็นพอร์ชินี เห็ดทั้ง 2 ชนิดนี้มีปริมาณกรดยูริกสูงมาก และเมื่อร่างกายได้รับกรดยูริกมากเกินความจำเป็น สามารถส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัวเหมือนบ้านหมุนได้ รวมถึงในกรณีที่ได้รับกรดยูริกในปริมาณมากเกินความจำเป็นต่อเนื่องเป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นพิษได้ในอนาคต โดยปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายต้องการไม่เกิน 7.1 มิลลิกรัม แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 2.3 มิลลิลิตร ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร 
  3. กะหล่ำปลีดิบ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรล้างผักให้สะอาดก่อนด้วยการแช่น้ำส้มสายชูประมาณ 15 นาที เพื่อกำจัดสารพิษที่ตกค้างจากยาฆ่าแมลง หรือเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย เช่น อีโคไลและซาลโมเนลลา โดยอาการที่พบได้บ่อยหลังจากได้รับเชื้อแบคทีเรียประเภทนี้จะทำให้อาเจียน ท้องร่วง ตะคริวและมีไข้ ซึ่งความรุนแรงของอาการหลังจากได้รับเชื้อโรคขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์และทารก
  4. หน่อไม้ดิบ สารอาหารที่มีอยู่ในหน่อไม้อุดมไปด้วยโปรตีน กรดอะมิโนจำเป็น แคลเซียม ฟอสฟอรัสและเหล็ก แต่การรับประทานหน่อไม้ดิบสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ เพราะในหน่อไม้ดิบมีสารไซยาไนด์ที่หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมากจะทำให้เกิดการขาดออกซิเจน หมดสติไปจนถึงเสียชีวิตได้
  5. ผักโขม เชื่อว่าเมนูผักโขมอบชีสเป็นหนึ่งในเมนูสุดโปรดของคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคน เพราะว่ามีกลิ่นหอม รสชาติเข้มข้นและอุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรงดรับประทาน เนื่องจาก Oxalic Acid ในผักโขมจะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมและเหล็กที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างระบบประสาทและสมองของทารกได้
  6. ถั่วฝักยาวดิบ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ชอบรับประทานส้มตำอาจต้องงดเว้นการทานถั่วฝักยาวเป็นผักแอ้มก่อน เพราะถั่วฝักยาวเต็มไปด้วยแก๊สมีเทน คาร์บอนไดออกไซน์ ซัลเฟอร์ไดอ็อกไซด์ ที่แม้จะไม่ได้ทำอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มากนัก แต่ก็สามารถทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกไม่สบายตัว แน่นท้อง ท้องอืด เนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะเยอะ แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่า คือ สารตกค้างบนถั่วฝักยาวที่ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้

แม้ว่าการรับประทานอาหารที่หลากหลาย รวมถึงรับประทานผักและผลไม้เป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพของทั้งแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อย เพราะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเสริมสร้างระบบประสาทและสมองของลูกน้อยในครรภ์ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวังการรับประทานผักบางประเภทอย่างที่แนะนำข้างต้น รวมถึงควรให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดผักให้สะอาดทุกครั้งก่อนนำมารับประทานหรือปรุงเป็นเมนูต่าง ๆ เนื่องจากการทำความสะอาดผักไม่ดีพอจะทำให้ร่างกายได้รับผลเสียจากสารเคมีตกค้าง ไข่พยาธิและเชื้อแบคทีเรียได้