ติดเชื้อในกระแสเลือดเฉีอดพลัน

ติดเชื้อในกระแสเลือดเฉีอดพลัน

การติดเชื้อในกระแสเลือดโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิด ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยความดันสูง ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดอวัยวะ หรือผู้ป่วยที่

มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ ซึ่งการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้หากไม่รีบเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด

การติดเชื้อในกระแสเลือดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อจากอวัยวะภายใน, การติดเชื้อจากการใส่สายปัสสาวะ, การสวนหลอดเลือดดำ, การติดเชื้อจากบาดแผลผ่าตัด เป็นต้น โดยมักจะเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายเซลล์ภายในร่างกายและทำให้ส่วนต่าง ๆ เริ่มมีอาการอักเสบและติดเชื้อในที่สุด 

ความรุนแรงของการติดเชื้อในกระแสเลือดจะมักเริ่มจากอัตราการหัวใจเต้นเร็วโดยคนใกล้ชิด หรือผู้ดูแลสามารถสังเกตความผิดปกติได้จากการนับอัตราการหายใจต่อนาที 

  • ผู้ใหญ่จะต้องมีหายใจไม่เกิน 20 ครั้งต่อนาที
  • เด็กทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน ควรมีอัตราการหายใจ ไม่เกินกว่า 60 ครั้งต่อนาที
  • เด็กทารกอายุ 2 – 12 เดือน ควรมีอัตราการหายใจ ไม่เกิน 50 ครั้งต่อนาที
  • เด็กอายุ 1 – 5 ขวบ ควรมีอัตราการหายใจ ไม่เกิน 40 ครั้งต่อนาที
  • เด็กอายุ 5 ขวบขึ้นไป ควรมีอัตราการหายใจ ไม่เกิน 30 ครั้งต่อนาที 

ความดันต่ำ มีไข้สูง หากปล่อยไว้สามารถทำให้ร่างกายเกิดการช็อกและเสียชีวิตในที่สุด การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังที่กล่าวมาข้างต้นจึงควรเผ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายผู้ป่วยอยู่เสมอ 

วิธีการปฏิบัติเมื่อพบว่าคนใกล้ชิดมีอาการติดเชื้อในกระแสเลือด 

การติดเชื้อในกระแสเลือดมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน สิ่งที่คนใกล้ชิดควรรีบทำทันทีเมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการความดันต่ำ หายใจเร็ว เริ่มมีไข้สูง ผู้ดูแลหรือคนใกล้ชิดควรรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลภายใน 1 – 2 ชั่วโมง เนื่องจากหากผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะโดยเร็วและได้รับการรักษาตามอาการที่ตามมาจะยิ่งเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตมากขึ้น 

วิธีการป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดเบื้องต้น

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดฉับพลันในผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ มีดังนี้

  1. รับประทานอาหารในปริมาณที่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่ร่างกายต้องการจะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารและนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรงเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ป่วยติดเตียงควรได้รับการทำกายภาพบำบัดอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและลดการเกิดแผลกดทับได้
  3. ให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดที่ถูกต้อง โดยส่วนมากการติดเชื้อในกระแสเลือดมักเกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรียผ่านทางการรับประทานอาหาร หรือการทำความสะอาดร่างกายที่ไม่ถูกต้อง ผู้ดูแล หรือผู้ป่วยควรให้ความสำคัญกับเรื่องความสะอาดให้มากที่สุด

ในผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอสามารถเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดฉับพลันได้ แต่หากหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายและรีบนำตัวส่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาจะช่วยลดความเสี่ยงต่อความอันตรายถึงแก่ชีวิตได้