ดอกสะแลผักพื้นบ้าน ที่ให้ทั้งรสชาติอร่อย และมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ดอกสะแล คือ และมีประโยชน์อย่างไร

สะแลคือผักพื้นบ้านที่พบได้มากในป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะของประเทศไทย มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยยืนต้น หากพบทาง

ภาคใต้จะเรียกว่าคันชง หรือชงแดง หากพบทางภาคเหนือจะเรียกว่าสาแล โดยสะแลจะพบในบริเวณภาคเหนือมากกว่า หลายคนจึงเข้าใจว่าเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ ซึ่งชาวเหนือเองก็นิยมนำผักชนิดนี้มาประกอบอาหารหลากหลายชนิด ตั้งแต่การนำมาลวกเพื่อจิ้มกับน้ำพริก การนำมาใส่แกงส้มและแกงป่า โดยรสชาติของสะแลจะมีรสออกจืด ให้ความมันและรู้สึกมีเมือกเมื่อเคี้ยวเข้าไป ส่วนประโยชน์ที่มีต่อร่างกายนั้นมีอยู่หลายประการด้วยกันดังต่อไปนี้

คุณประโยชน์จากสะแล ที่จะช่วยให้อาการกรดไหลย้อนดีขึ้น

ชาวเหนือรับประทานสะแลกันมาหลายชั่วอายุคน และมีภูมิปัญญาชาวบ้านที่นิยมนำใบและเปลือกของสะแลมาต้มน้ำเพื่อใช้ดื่มบรรเทาอาการบวมน้ำของร่างกาย โดยจากการศึกษาพบว่าส่วนดอกของสะแลมีองค์ประกอบของสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายคือ โซเดียม, แคลเซียม, เหล็ก, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, กากใย, เบต้าแคโรทีน, สารแอนติออกซิแดนท์, สารโพลิฟินอล, วิตามิน C, E และ B1-2 จึงจัดได้ว่าเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่สามารถรับประทานบ่อย ๆ ได้ และยังช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายได้ดังต่อไปนี้

  • ช่วยปรับระบบย่อยอาหาร ด้วยกากใยชนิดไม่ละลายน้ำของดอกสะแล ช่วยการทำงานของลำไส้ให้น้อยลง กากใยจะช่วยกวาดสิ่งสกปรกและคราบแห้งตกค้างในลำไส้ให้หมดไปผ่านทางอุจจาระ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ลดการบีบเกร็งของลำไส้และกระเพาะอาหาร
  • ช่วยให้อาการกรดไหลย้อนดีขึ้น เมื่อกระเพาะและลำไส้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น อาการกรดไหลย้อน แสบร้อนกลางทรวงอกจึงค่อย ๆ ดีขึ้น ช่วยให้คุณนอนราบได้มากขึ้น และถ้าหากคุณมีความระมัดระวังในอาหารที่รับประทานร่วมด้วย อาการกรดไหลย้อนของคุณจะหายขาดได้
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะและลำไส้ สะแลเป็นผักที่มีค่าความเป็นด่างสูง จึงไม่มีฤทธิ์ทำลายกระเพาะและลำไส้ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อยู่แล้วสามารถรับประทานสะแลได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งสารอาหารสำคัญและเมือกในดอกสะแลยังช่วยบรรเทาอาการอักเสบของกระเพาะและลำไส้ให้ดีขึ้นด้วย

นับว่าสะแลเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าต่อระบบย่อยอาหารของร่างกาย ช่วยฟื้นฟูกระเพาะอาหารและลำไส้ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนสามารถนอนราบและหลับสนิทได้ วิธีการรับประทานสะแลที่ถูกต้องควรนำไปลวกหรือต้มให้สุก สามารถนำไปตำรวมกับสมุนไพรพื้นบ้านอื่น ๆ พร้อมกับเนื้อปลา เพื่อทำเป็นแกงส้มหรือแกงป่าได้อย่างอร่อยลิ้น พร้อมคุณค่าทางอาหารที่ร่างกายจะได้รับจากสมุนไพรที่ได้จากพริกแกง ไขมันดีจากเนื้อปลา และกากใยที่มีคุณค่าจากสะแล